พุทธวิธีการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

  • พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโน
คำสำคัญ: พุทธวิธี, วิธีการบริหารเวลา, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การบริหาร เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีองค์ประกอบในด้านความรู้ หลักการและกฎเกณฑ์ที่นำมาจากศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา เพื่อหาความรู้ในหลักการบริหารแล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง การบริหารจะประสบความสำเร็จได้นั้น จึงขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารหรือผู้นำในการประยุกต์เอาทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมและเวลา เวลาจึงเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ถ้าผู้ปฏิบัติงานสามารถควบคุมเวลาได้ ก็จะสามารถใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อจะได้ไม่สูญเสียเวลาไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ การบริหารเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นการใช้เวลาให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยการแบ่งงานออกเป็น 4 D คือ Do, Decide, Delegate และDelete  ภายใต้เทคนิคการบริหารเวลา คือ การจัดลำดับความสำคัญของงาน การวางแผนการใช้เวลา การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ และการพัฒนาและติดตามผล เช่นเดียวกับหลัก พุทธวิธีในการบริหาร คือ วิธีการบริหารของพุทธเจ้า โดยใช้หลักการบริหารเชิงพุทธศาสตร์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่า โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนำมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการคน งาน และเวลาให้มีความคุ้มค่าและมีคุณธรรม เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บริษัท ตามโอกาส สถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการบริหารเวลาปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อการบริหารจัดการที่ดี ให้มีความคุ้มค่า อย่างมีคุณธรรมและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์นั้น

ประวัติผู้แต่ง

พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโน

การบริหาร เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีองค์ประกอบในด้านความรู้ หลักการและกฎเกณฑ์ที่นำมาจากศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา เพื่อหาความรู้ในหลักการบริหารแล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง การบริหารจะประสบความสำเร็จได้นั้น จึงขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารหรือผู้นำในการประยุกต์เอาทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมและเวลา เวลาจึงเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ถ้าผู้ปฏิบัติงานสามารถควบคุมเวลาได้ ก็จะสามารถใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อจะได้ไม่สูญเสียเวลาไปกับสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ การบริหารเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นการใช้เวลาให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยการแบ่งงานออกเป็น 4 D คือ Do, Decide, Delegate และDelete  ภายใต้เทคนิคการบริหารเวลา คือ การจัดลำดับความสำคัญของงาน การวางแผนการใช้เวลา การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ และการพัฒนาและติดตามผล เช่นเดียวกับหลัก พุทธวิธีในการบริหาร คือ วิธีการบริหารของพุทธเจ้า โดยใช้หลักการบริหารเชิงพุทธศาสตร์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่า โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนำมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการคน งาน และเวลาให้มีความคุ้มค่าและมีคุณธรรม เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บริษัท ตามโอกาส สถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการบริหารเวลาปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อการบริหารจัดการที่ดี ให้มีความคุ้มค่า อย่างมีคุณธรรมและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์นั้น

บรรณานุกรม

จ.เปรียญ. (2548). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย.
ชัชวาล อยู่คงศักดิ์. (2540). คู่มือการบริหารเวลา. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธงชัย สันติวงษ์. (2533). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
พระสามารถ อานนฺโท.(2550). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2552). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : บริษัท สำนักพิมพ์มนตรี จำกัด.
อัลวิน ทอฟฟเลอร์. (2533). คลื่นลูกที่สาม แปลจาก Third Wave โดย รจิตลักษณ์ แสงอุไร. พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพมหานคร: Global Brain.
Frederick, W. Taylor. (2543). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
เผยแพร่แล้ว
2019-10-22