การศึกษาเปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องร่างกายในปรัชญาของมิเชล ฟูโกต์ กับพุทธปรัชญาเถรวาท

  • พระสิทธิพร นรตฺตโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: มโนทัศน์เรื่องร่างกาย, มิเชล ฟูโกต์, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่องร่างกายในปรัชญาของมิเชล ฟูโกต์   2) เพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่องร่างกายในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องร่างกายระหว่างปรัชญาของมิเชล ฟูโกต์กับพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการวิจัยพบว่า

มิเชล ฟูโกต์ มองว่าร่างกายเป็นสิ่งที่ประกอบสร้างขึ้นจากสังคม โดยที่ร่างกายมักถูกควบคุม บงการจากสถาบันทางสังคมต่างๆ ผ่านอำนาจในระดับจุลภาคที่ฟูโกต์เรียกว่า อำนาจชีวะ (Bio-power) อำนาจชนิดนี้จะมีชีวิตและทำงานได้เอง แม้ว่าอาจจะมองไม่เห็น หากแต่เป็นอำนาจที่เราบังคับตัวเอง ฟูโกต์เรียกร่างกายที่อ่อนปวกเปียก ว่านอนสอนง่ายแบบนี้ว่า ìร่างกายใต้บงการî (Docile body)

ขณะที่พุทธปรัชญาเถรวาท มองว่าร่างกายเป็นสิ่งที่ประกอบสร้างขึ้นตามธรรมชาติ ในรูปของสิ่งต่างๆ ที่มาประชุมร่วมกัน ประกอบด้วยส่วนที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมหรือที่เรียกว่าเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยที่รูปขันธ์คือส่วนที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด สามารถจัดได้อีกสองกลุ่ม คือ มหาภูตรูปกับอุปทายรูป ซึ่งเป็นกลุ่มของวัตถุและลักษณะที่อาศัยวัตถุเกิดขึ้น

ดังนั้น มิเชล ฟูโกต์จึงมีมโนทัศน์ต่อร่างกายว่า เป็นสิ่งที่ถูกสังคมสถาปนาขึ้น โดยที่สถาบันทางสังคมของรัฐสมัยใหม่ มีเทคนิควิธีการทางอำนาจในการควบคุมร่างกาย เพื่อสร้างระเบียบวินัยของพลเมือง ในขณะที่พุทธปรัชญา มีมโนทัศน์ต่อร่างกายว่า ร่างกายเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นตามธรรมชาติ หากแต่ต้องอาศัยพระธรรมวินัย เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายเช่นกัน

บรรณานุกรม

ยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิภาษา.
ซี.อี.เอ็ม. โจด. (2513). ปรัชญา. วิทย์ วิศเวทย์ (แปล). กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2552). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2535). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2552). มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
แสง จันทร์งาม. (2534). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2552). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
David Armstrong. (1987). Bodies of knowledge: Foucault and problem of human Anatomy. in Graham Scambler (ed.) Sociology theory and Medical
Sociology. London: Tavistock publication.
J. Cottingham. R. Stoothoff. and D. Murdoch (trans.). (1985). The Philosophical Writings of Descartes. Vols. I and II. Cambridge: Cambridge University.
Michel Foucault. (1987). Body/Power in C. Gordon (ed.). Michel Foucault: Power/ Knowledge. Brighton: Harvester.
____________. (1979). Discipline and Punish: the birth of prison. Harmondsworth: Penguin Books.
____________. (1973). The order of thing : an archaeology of the human sciences New York : Vintage Books.
____________. (1980). The History of Sexuality Vol I: The Will to Knowledge. trans. Robert
Hurley. New York: Vintage book, 1980.
____________. (1994). Madness and Civilization: A History of Insanity in the Age of Reason. New York: Vintage,
____________. (2002). Power: Essential works of Foucault 1954 – 1984. Volume 3. (ed. Jame D. Faubion). London: Penguin Books.
____________. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writings, 1972-1977. Colin Gordon (ed.) New York: Vintage Book,
Paul Friedlander. (1958). Plato. New Jersey: Princeton University Press.
เผยแพร่แล้ว
2019-10-22