การพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

  • อภิชัย กามู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประเสริฐ บุปผาสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระมหาทินกร วรญาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: การพัฒนาจิตวิญญาณ, สันติสุขชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษากระบวนการและกิจกรรมการพัฒนาจิตวิญญาณ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษารูปแบบพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อส่งเสริมการสื่อสารการพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสัมภาษณ์เชิงลึกคือผู้มาปฏิบัติธรรม ที่วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15 คน

ผลการวิจัยพบว่า  1) กระบวนการและกิจกรรมการพัฒนาจิตวิญญาณของวัดถ้ำเมืองนะนั้นมุ่งเน้นหลักธรรมเรื่อง บุญกริยาวัตถุ 3  คือ กิจกรรมการเข้ามาทำบุญถวายทานและการบริจาคปัจจัยเพื่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด การถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรและผู้ที่เข้ามาร่วมปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมวัดธรรม การรักษาศีล 5 หรือศีล 8  ส่วนการภาวนานั้นกำหนดให้ผู้ปฏิบัติธรรมสวดมนตร์บทพระมหาจักรพรรดิทั้งวันทั้งคืนร่วมการบริกรรมพระผงจักรพรรดิอันถือได้ว่าเป็นวัตถุในการยึดเหนี่ยวในการทำสมาธิ นอกจากนี้ การเพ่งพระอริยสงฆ์ในระหว่างสวดมนต์นั้นถือว่าเป็นกุศโลบายอีกอย่างหนึ่งในการกำหนดจิตให้มีสมาธิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติสมถกรรมฐานในหลัก อนุสติ 10 ข้อ และการปฏิบัติดังกล่าว เรียกว่า สังฆานุสติ คือ ละลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ในข้อสามแห่งอนุสติ 10 ข้อดังกล่าว

2) รูปแบบพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธเพื่อสันติสุขของชุมชนวัดถ้ำเมืองนะ พบว่า ในรูปแบบของ การกิน การนอน และการสวดมนต์อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีเป้าหมายที่ชัดเจน และรู้สึกผ่อนคลาย และมีอารมณ์ดีตลอดเวลารวมถึงสามารถกำหนดจิตในการสวดมนต์ และแผ่เมตตาอย่างมีสมาธิ มันเป็นรูปแบบปฏิบัติที่เพิ่มพลังบุญและหนุนนำให้ชีวิตผู้ปฏิบัติเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการสวดบทพระคาถามหาจักรพรรดิอยู่เสมอ 3) การส่งเสริมการสื่อสารการพัฒนาจิตวิญญาณสามารถแบ่งออกได้ สองรูปแบบ คือ รูปแบบที่ไม่เป็นทางการซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยวิธีพูดปากต่อปากจากบุคคลไกล้ชิดและการสื่อสารแบบเป็นทางการคือการสื่อสารโดยการประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน การสื่อสารทางเดียวที่เป็นทางการ คือ การประชาสัมพันธ์จะเป็นในลักษณะต่าง ๆ เช่นการสื่อโดยแผ่นพับแผ่น ป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารทางระบบออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ

บรรณานุกรม

โคทม อารียา,ข้อชวนพิจารณาเรื่องสันติภาพ,กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
ทัศนีย์ ทองประทีป, จิตวิญญาณ มิติหนึ่งของพยาบาล, กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
บุบผา ชอบใช้, การพยาบาลในมิติจิตวิญญาณ โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นหลัก, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2546.
ประเวศ วะสี, สุขภาวะทางจิต สุขภาวะจิตวิญญาณ, กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน, 2544.
พจนานุกรม, ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์, 2538.
พระไพศาล วิสาโล, สันติภาพโดยสันติภาพ อ้างใน กาญจนา แก้วเทพ สื่อสันติภาพ สันติภาพในสื่อ, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปุยตฺโต), ทางสายกลางของการศึกษาไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2530.
ฟาริดา อับราฮิม, การพยาบาลในมิติด้านจิตวิญญาณ, กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, 2534.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542, กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, 2546
ราชบัณฑิตสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2556, กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546.
วิธีปฏิบัติ, ข้อวัตรคือ กิน นอน สวดมนต์, พิมพ์ครั้งที่ 2, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.พุทธพรหมปัญโญ.com [13 กรกฎาคม 2563].
สนธยา พลศรี, ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2547.
อเนก นาคะบุตร, คนกับดิน ป่า น้ำ จุดเปลี่ยนแปลงแห่งความคิด, กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, 2536.
อัจฉรา ตันศรีรัตนวงศ์, การเยียวยาด้านจิตวิญญาณของผู้ติดเชื้อเอชไอวีของผู้นับถือพระพุทธศาสนา,กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541.
เผยแพร่แล้ว
2022-02-11