การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 กับวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

  • ปัทญภัจช พรมเสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์ . มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • เกรียงศักดิ์ ฟองคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
คำสำคัญ: การประยุกต์ใช้, หลักอิทธิบาท 4, วิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (2) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในพระพุทธศาสนา (3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 กับวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับประเด็นการวิจัย จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. วิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ มีการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.03) โดยเรียงจากด้านที่มากไปหาด้านที่น้อย ได้แก่ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ ด้านวิมังสา และด้านฉันทะ
  2. หลักอิทธิบาท 4 กับวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ได้แก่ (1) ด้านฉันทะ มีความรักในอาชีพของตนเอง รู้จักการวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสามารถทำงานให้เป็นระบบระเบียบ ทำให้งานสำเร็จลุล่วงตามแผนที่ตั้งไว้ (2) ด้านวิริยะ มีความเพียรพยายามอดทนเป็นที่ตั้ง มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง ทำงานให้เต็มความสามารถ และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ (3) ด้านจิตตะ รู้จักหมั่นพิจารณาไตร่ตรอง มีสมาธิกับการทำงานอยู่ตลอดเวลา สนใจในการพัฒนาตนเอง เพื่อประเมินผลงานของตนเอง ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดแล้วนำมาแก้ไข และนำมาปรับปรุงพัฒนา (4) ด้านวิมังสา การพิจารณาพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบการดำเนินงาน ศึกษาจากปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นต่อไป
  3. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 กับ พบว่า (1) ด้านฉันทะ ทำงานด้วยความรักที่มีต่ออาชีพของตนเอง การทำงานมีความสุขที่ได้ทำงานที่ตนเองชอบด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้กับการทำงาน ส่งผลให้งานออกมามีคุณค่าและน่าภาคภูมิใจ (2) ด้านวิริยะ ตั้งใจทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียรมีความกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่มีความเบื่อหน่ายต่อปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการทำงานนั้น ๆ สร้างวินัยให้กับตนเอง พร้อมกับทุ่มเทกำลังกายอดทนต่อทำงาน และอดทนรอคอยผลสำเร็จที่เกิดจากความตั้งใจทำงาน (3) ด้านจิตตะ ทำงานด้วยความมุ่งมั่น ใส่ใจในรายละเอียดขั้นตอนของการทำงาน รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานด้วยความเรียบร้อย ตรงต่อเวลา รักษาระดับมาตรฐานของผลงาน (4) วิมังสา สำรวจตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน พัฒนาจุดแข็งและปรับปรุงจุดอ่อนให้ดีขี้น มีความคิดสร้างสรรค์ และความคิดใหม่ ๆ ในการทำงานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดีขึ้น ดังนั้น การทำงานด้วยความซื่อสัตย์เป็นจรรยาบรรณพื้นฐานในการทำงานของทุกอาชีพ ทำงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประสบกับความสำเร็จ มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น ยกระดับคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐาน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ทำให้เศรษฐกิจภายในชุมชนดีขึ้น

บรรณานุกรม

พระครูถาวรสิทธิการ. “การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในกระบวนการแปรรูปกลอยของชุมชนบ้านไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561): 79-80.
พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา. “การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหาร ส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี”. วารสารหมาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 (กรกฎาคม 2562): 2459-2480.
พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสิโล (เกษนคร). พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริธรรมออฟเซ็ท, 2554.
วรรณพงค์ ช่วยรักษา. “แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มสตรีทอผ้าย้อมครามบ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร”. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.
เผยแพร่แล้ว
2022-02-11