การใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

  • ประสิทธิ์ ชาระ
คำสำคัญ: อิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร โดยจำแนกเพศ ผลการศึกษา และสังกัด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาที่ศึกษาคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 83 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีเจตคติต่อการใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ("x" ̅= 4.15, S.D. = 0.71) โดยนักศึกษามีเจตคติด้านวิมังสามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านจิตตะ ด้านวิริยะ และด้านฉันทะ ตามลำดับ

บรรณานุกรม

นงเยาว์ อุทุมพร วาสนา เพิ่มพูล. (2551). รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักธรรมอิทธิบาท 4 เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
บัญชา ท่าทอง (2556). ศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 พัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระจีรศักดิ์ บุญฤทธิ์ (2554). ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มด้วยหลักอิทธิบาท 4 ที่มีต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธิ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อิทธิปาทวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 35. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27