ผลการใช้สถานการณ์จำลองในรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความสามารถและความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

  • สุริยะ ประทุมรัตน์
คำสำคัญ: ผลการใช้สถานการณ์จำลอง, ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ, ความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ผลการใช้สถานการณ์จำลอง ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความสามารถและความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถและความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ ด้วยการใช้สถานการณ์จำลอง ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยการใช้สถานการณ์จำลอง ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย โดยกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 54 คน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองในวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง พบว่า มีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ พบว่า นักศึกษามีความมั่นใจในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนรู้ พบว่า นักศึกษามีความมั่นใจสูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสถานการณ์จำลอง ในวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ในระดับมาก

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

. (2544). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: กองวิจัยทางการศึกษา.

. (2554). คุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2558, จาก www. mukinter.com/index.php/th/aec

. (2555). นโยบายและแนวทางการดำเนินงานสำหรับ “พ.ศ. 2555 ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ” English Speaking Year 2012. กรุงเทพมหานคร: ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.

. (2556). การศึกษาสภาพการจัดการเรียน การสอนภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นทักษะการสื่อสารตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพคุรุสภา

กฤษณพงษ์ พรมบึงรำ. (2551). การใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลองในวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กุณฑลีย์ ไวทยะวณิช. (2545). หลักการพูด. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮ้า.

ชไมพร เลิศคณาวนิชกุล. (2550). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เดโช สวนานนท์. (2546). จิตวิทยาสำหรับครู และผู้ปกครอง. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ดรุณี บริจาค. (2551). การใช้แนวการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ความสามารถในการเขียนสรุปความมั่นใจในตนเองของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2552). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บวรจิต พลขันธ์. (2551). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2545). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

สุมิตรา เรือนแป้น. (2546). การใช้สถานการณ์จำลองในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษและความเชื่อมั่นในความสามารถของตน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2541). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (Theories and Techniques in Behavior modification). พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542ก). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

อนุตรา สวัสดิ์ศรี. (2550). การศึกษาผลการใช้สถานการณ์จำลองในการพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานบริษัทสยามซันไรซ์เอ็นเตอร์ไพรซ์จำกัด. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกอนงค์ ปวง. (2550). การใช้กิจกรรมสถานการณ์จำลองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษและแรงจูงใจของนักเรียนในระดับกำลังพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อารี สัณหฉวี. (2543). พหุปัญญาในห้องเรียนวิธีการสอนเพื่อพัฒนาปัญญาหลายด้าน. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

เผยแพร่แล้ว
2019-12-27