พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภคในการบริโภคอาหารอีสาน ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

  • ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์
คำสำคัญ: พฤติกรรมการตัดสินใจ, การบริโภคอาหารอีสาน, จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภคในการบริโภคอาหารอีสาน ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการร้านอาหารอีสาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า1.ปัจจัยส่วนบุคคลในการตัดสินใจในการบริโภคอาหารอีสาน มีการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.03 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ด้านที่มีการตัดสินใจสูงสุด คือ ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.20 รองลงมาคือ ด้านช่องทางการจำหน่าย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.11 ส่วนด้านที่มีการตัดสินใจต่ำที่สุด คือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 3.88 2. ผู้บริโภคอาหารอีสานให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตัดสินใจบริโภคสรุปผลได้ว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารควรคำนึงถึงความสะอาดสด ใหม่ของอาหารอยู่เสมอ มีวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุที่ชัดเจน ควรมีการกำหนดราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของอาหาร และควรมีการอบรมให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับอาหารภายในร้าน ให้คำแนะนำกับลูกค้าได้ รวมถึงกิริยามารยาท เต็มใจให้บริการแก่ลูกค้า นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับบรรยากาศของร้าน ตกแต่งร้านให้ดูสวยงาม แลดูสะอาดอยู่ตลอดเวลา และควรมีสถานที่จอดรถอย่างเพียงพอ

บรรณานุกรม

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การใช้SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิจติมา ลุมภักดี และไกรชิต สุตะเมือง. (2555). ปัจจยัที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ร้านอาหาร บุฟเฟ่ ต์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุนการตลาด และการบริหารธุรกิจ, 2(4), 19-34.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2549). การตลาดบริการ. พิมพ์ ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ส. เอเชียเพรส.
ณธีพัฒน์ วชิรชัยเกียรติ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกเรียนดนตรีสากลของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทศบาลนครอุดรธานี. (2558). http://udoncity.dungbhumi.com/public4/content.2
ปิยะพร มิตรภานนท์. ( 2558 ). พฤติกรรมและปัจจัยการ ตัดสินใจเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ บัณฑิตหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย : มหาวิทยาลยราชภัฏเลย .
Adrian Payne. (1993). The Essence of Services Marketing, Hertfordshire.Prentice Hall International (UK), Ltd.
Rovinelli and Hambleton. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27