ความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่าย 4G ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในจังหวัดขอนแก่น

  • ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์
คำสำคัญ: ความพึงพอใจ, ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่าย 4G ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในจังหวัดขอนแก่น และข้อที่ควรปรับปรุงการให้บริการ 1) ด้านคุณภาพการบริการ 2) ด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ 3) ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ และ4) ด้านคุณค่าตราสินค้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ใช้บริการในการใช้บริการเครือข่าย 4G ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวนทั้งสิ้น 362 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ ในการใช้บริการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความพึงพอใจในการใช้บริการสูงสุด คือ ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.50 รองลงมา ด้านคุณค่าตราสินค้า อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.33 และด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.15 ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับต่ำที่สุด ด้านคุณภาพการบริการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.52 2. ผู้ใช้บริการได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่พบและสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไข พบว่า ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับระบบสัญญาณ ให้มีความเสถียร มีความเร็วสูง และครอบคลุมพื้นที่ให้บริการอย่างทั่วถึงและได้มาตรฐาน ส่วนคุณภาพการบริการควรนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วย อำนวยความสะดวก ให้มี รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก และจัดหาเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำอย่างเพียงพอ ควรมีการจัดการภายในองค์กรให้มีความชัดเจน แบ่งแยกหน้าที่กันอย่างเหมาะสม และควรคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกหลังการขาย เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจในการใช้บริการต่อไป

บรรณานุกรม

กนกวรรณ นาสมปอง. (2555). สภาพการให้บริการการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตงานส่งเสริมวิชาการและงาน ทะเบียน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2548. หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 8 : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2548). การใช้SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.(พิมพ์ครั้งที่ 6).ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เก็จวลี ศรีจันทร์. (2557). คุณภาพการให้บริการศูนย์บริการทรูช้อป ที่มีผลต่อความพึงพอใจของ ผู้ใช้บริการ สี่จี แอลทีอี เครือข่ายทรูมูฟ เอชจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
โกศล พรประสิทธิ์เวช. (2552). สรางยอดขายอันดับ 1 ด้วย Prosoft CRM. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมฟดีจํากัด. 1-3.
เตือนใจ จันทร์หนองสรวง.(2554). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่ายเอไอเอสในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนกร โอภาพงพันธ์. (2555). การศึกษาพฤติกรรมในการเลือกใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
มะลิวัลย์ แสงสวัสดิ์ .(2558). ปัจจัยความเชื่อมั่นและความภักดี ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการห้างสรรพสินค้า กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพมหานคร.คุณภาพการบริการ ความไว้วางใจ.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เสรีวงษ์มณฑา .(2554). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคผ่านอัตลักษณ์ตราสินค้าบนถุงช็อปปิ้งเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
อนุชา อรุณทองวิไล. (2557). ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการและความเชื่อมั่นไว้วางใจส่งผล ต่อความภักดีของธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่.การศึกษาเฉพาะบุคคล ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Parasuraman, Berry & Zeithaml. (1991). Refinement and reassessment of the SERVQUAL scale. Journal of Retailing, 67, 420-440.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27