รูปแบบการจัดการความรู้กับการบริหารโรงสีชุมชน

  • วิสูตร จิตสุทธิภากร
คำสำคัญ: รูปแบบ, การจัดการความรู้, การบริหารโรงสีชุมชน

บทคัดย่อ

รูปแบบ คือ โครงสร้าง โปรแกรม แบบจำลอง หรือแบบที่จำลองสภาพความเป็นจริง นำมาจัดการความรู้ ด้วยการค้นหา การรวบรวม การเลือกสรร การกลั่นกรอง การจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ในรูปแบบของแหล่งข้อมูล จึงได้มีการจัดการความรู้ และบริหารจัดการความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรของตนเองมากที่สุด เป็นการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงผลผลิต เพื่อพัฒนาคุณภาพขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น เป็นการลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เป็นการประหยัดเวลาในการต่อยอดความรู้ มีองค์กรเรียนรู้เป็นแกนกลาง และประกอบด้วยการหาแหล่งความรู้ องค์ความรู้เดิมเป็นปัจจัยที่สำคัญ โรงสีชุมชน บริหารด้วยคณะกรรมการ มาจากผู้นำในชุมชน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ เหรัญญิก และกรรมการ โดยคณะกรรมการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี มีระเบียบข้อตกลง ไว้เพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตาม มีผู้ปฏิบัติงานในโรงสี มี 2 ตำแหน่ง คือ พนักงานสีข้าว และเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีการให้บริการ 3 อย่าง คือรับจ้างสีข้าวเปลือก รับซื้อข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสารเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายแกลบ รำ ปลายข้าว

บรรณานุกรม

กิตติญาภรณ์ ซุยลา. (2549). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการเทศบาลตำบลหนองหิน กิ่งอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
จิราภรณ์ อุตศาสตร์. (2553). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโรงสีชุมชนตำบลโคกเหล็ก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการศึกษา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ.(2548). การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ใยไหม.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ออนไลน์) แหล่งที่มา http: www.royin.go.th (สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2560).
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
วสันต์ ลาจันทึก. (2548). การจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขอนแก่น เขต 4. รายงานการศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิษณุ อ๋องสกุล. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำผู้ประกอบการในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศึกษาธิการ, กระทรวง, สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2548). การบริหารการศึกษาตามยุทธศาสตร์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
อำนวย เถาตระกูล. (2548). เอกสารประมวลความรู้ เรื่อง หลักทฤษฎี แนวคิดงานวิจัย สำหรับใช้เป็น ฐานความรู้ในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารความรู้ในสถาบันการอาชีวศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.
เผยแพร่แล้ว
2019-12-27