วิเคราะห์ศาสตร์การแพทย์วิถีธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักศาสตร์การแพทย์วิถีธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน ผลการวิจัย พบว่า
ศาสตร์การแพทย์วิถีธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน เป็นศาสตร์การแพทย์แผนใหม่ของโลก มีจุดกำเนิดในประเทศไทย มีแนวคิดหลัก คือ การฝึกฝนปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสภาวะของความสุขอันสูงสุด คือ นิโรธ วิมุตติ นิพพาน ไปเป็นลำดับ ซึ่งตรงกับเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา โดยมีแนวคิดย่อยตามหลักพุทธรรม คือ (1) ใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง (2) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน (3) เหตุแห่งทุกข์คือตัณหา (ดับทุกข์ต้องดับที่ตัณหา) (4) ประหยัด เรียบง่าย (5) มีประโยชน์ ไม่มีโทษ (6) พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง (7) เป็นจริงตลอดกาล (8) อนุเคราะห์เกื้อกูลโลก มีการอธิบายกลไกการเกิดการหายของโรคตามหลักพุทธศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์เชิงนามธรรม (Abstract Science) ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับหลักวิทยาศาสตร์เชิงรูปธรรม (Physical Science) บูรณาการออกมาเป็นหลักปฏิบัติ 9 ข้อสู่สุขภาวะแห่งพุทธะ หรือยา 9 เม็ดของแพทย์วิถีธรรม ซึ่งผู้ป่วยจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีสโลแกน คือ "หมอที่ดีที่สุดในโลกคือตัวเราเอง" "ลดกิเลสรักษาโรค" "ศูนย์บาทรักษาทุกโรค"
ผลของการปฏิบัติ คือ สามารถรักษาโรคได้จริง แม้แต่โรคที่หมดทางรักษาแล้ว (ผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของบุคคลนั้นๆ) และส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ดีขึ้นอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ปัญญา เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตโดยรวม และด้านการพึ่งตน (ดับทุกข์ในตน, ดับตัณหาในตน) และช่วยคนให้พ้นทุกข์ (ภาวะแห่งพุทธะ) เป็นการก่อเกิดของสังคมแห่งพุทธะหรือสังคมอริยะ
บรรณานุกรม
ใจเพชร กล้าจน. (2553). ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักแพทย์ทางเลือก
วิถีพุทธ ของศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ประเวศ วะสี. (2543). สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข.
___________. (26 มี.ค. 2563). สุขภาพบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/society/1803568
แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (1 กุมภาพันธ์ 2559). ธรรมะกับสุขภาพ : สัญญาณเตือนวิกฤติทางจิตวิญญาณ. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2563, จาก https://m.mgronline.com/dhamma/detail/9590000011217
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (มีนาคม 2561). ประมาณการค่าใช้จ่ายสาธารณะด้านสุขภาพในอีก 15 ปีข้างหน้า. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565, จาก https://tdri.or.th/wp- content/uploads/2019/12/ประมาณการค่าใช้จ่ายสาธารณะด้านสุขภาพในอีก-15-ปีข้างหน้า.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2563, จาก https://www.nesdc.go.t/ewt_dl_link.php?nid=6422
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวทางการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกัน โรคไม่ติดต่อสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.