แนวคิดทางปรัชญากับการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติประเพณี ทางพระพุทธศาสนาในสังคมยุคนววิถี

  • พระปริญญา อินทจักร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
คำสำคัญ: แนวคิดทางปรัชญา, การเปลี่ยนแปลง, วิถีปฏิบัติ, ประเพณีทางพระพุทธศาสนา, สังคมยุคนววิถี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางอภิปรัชญาและจริยศาสตร์          2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติทางประเพณีทางพระพุทธศาสนาในสังคมยุคนววิถี 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญากับการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติประเพณีทางพระพุทธศาสนาในสังคมยุคนววิถี เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า

              1) แนวคิดทางอภิปรัชญาศึกษาในเรื่องความจริงเหนือประสาทสัมผัส ซึ่งเป็นโลกทัศน์และชีวทัศน์ปรากฏในด้านความเชื่อพื้นฐาน เช่น ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ พลังอำนาจลึกลับและแนวคิดด้านจริยศาสตร์ ที่เป็นเกณฑ์การตัดสินคุณค่าของการประพฤติว่า ควร ไม่ควร ถูกต้องดีงาม หรือ ตรงกันข้าม ของบุคคลและสังคม 2) วิถีปฏิบัติทางประเพณีทางพระพุทธศาสนา ในสังคมยุคนววิถี มีการเปลี่ยนแปลงวิถีปฏิบัติของสังคมในด้านการดำเนินชีวิตแบบใหม่ (New Normal) สาเหตุจากการระบาดของโรคโควิด-19 มีผลกระทบทั้งด้านรัฐบาล สังคมเศรษฐกิจ การศึกษาและศาสนา วิถีปฏิบัติทางประเพณีทางพระพุทธศาสนา จึงมีการเปลี่ยนแปลงทางวิถีปฏิบัติตามสังคม ซึ่งประเพณีที่ประกอบพิธีกรรมร่วมกันเป็นหมู่คณะจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปและประเพณีที่มีพิธีกรรมที่เป็นส่วนของปัจเจกบุคคลยังคงสามารถปฏิบัติได้ตามมาตรการทางสังคม 3) ในยุคนววิถีความเชื่อที่ปรากฏมีอยู่ในประเพณีทางพระพุทธศาสนายังคงอยู่ เพียงแต่มีวิถีปฏิบัติใหม่ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาวะสังคม ประเพณีตามแนวประโยชน์นิยม ก็ถือได้ว่าถูกต้องตามหลักศีลธรรมเพราะเป็นประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ในยุคนววิถีมีการนำหลักปฏิบัติทางพุทธจริยศาสตร์มาประพฤติ ได้แก่ อริยสัจ 4 มรรค 8 เป็นต้น

บรรณานุกรม

กรมสุภาพจิต.(8 พฤษภาคม 2563). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, แหล่งที่มา https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288

กรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา. (26 เมษายน 2563). หมอชี้โควิดส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิตแบบใหม่ด้านสังคม. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, แหล่งที่มา : https://www.dailynews.co.th/politics/771154

ข่าวไทยพีบีเอส. (31 มกราคม 2563). WHO ประกาศภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดของไวรัสโคโรนา. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564 จาก : https://news.thaipbs.or.th/content/288500

จารุณี วงศ์ละคร. (2542). ปรัชญาเบื้องต้น. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดำรง ฐานดี และคณะ. (2560). สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นางสาวพิมพ์นภัส จินดาวงค์. (2554) “การดำรงอยู่และบทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีอารักษ์เมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร.. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 69 ง, 25 มีนาคม 2563.

ประพัฒน์ โพธิ์กลางดอน. (2539). ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. เชียงใหม่ : ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

มณี พะยอมยงค์. (2547). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.

มัณฑนา กิตติวรากูล. (2547). “แนวคิดทางอภิปรัชญาและจริยศาสตร์ในพิธีบูชาอินทขีล จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลิปิกร มาแก้ว. (ม.ป.ป.) ประเพณีและวัฒนธรรมล้านนา. เอกสารประกอบการสอน. คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่.

วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา. (8 สิงหาคม 2564). เพราะการศึกษาหยุดไม่ได้ ต่างประเทศเรียนกันอย่างไรในช่วงโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, แหล่งที่มา : https://www.eef.or.th/education-abroad-covid/

วิทย์ วิศทเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. (2 กันยายน 2564) นายกรัฐมนตรียืนยันการแก้ปัญหาโควิด-19 เป็นไปตามสถานการณ์ เหตุผล ความจำเป็น การตัดสินใจทุกเรื่องอยู่บนข้อมูล ข้อเท็จจริง. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, แหล่งที่มา https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/454452

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการจัดพิธีทางศาสนาและการจัดกิจกรรมทางประเพณีในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพมหานคร : บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้น จำกัด.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เผยแพร่แล้ว
2022-06-27