การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาเรื่อง พระพุทธศาสนา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกองตามเกณฑ์มาตรฐาน75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง พระพุทธศาสนา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 155 คน ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว–วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest - Posttest Design) สัญลักษณ์ (T1 - x - T2)
บรรณานุกรม
ปิยนันท์ ทองทับ (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วันวิสาขบูชา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 9(1). 89-101.
พระศศิพงษ์ ธมฺมวโร (ชัยสิทธิ์) และคณะ. (2564).รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวพุทธวิธี วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนกุดน้ำใสพิทยาคม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง. (2566). สรุปผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2563. เชียงใหม่ : โรงเรียนเทศบาลวัดหมื่นเงินกอง.
สุมิตร คชรัตน์. (2561). การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.