วารสารธรรมวิชญ์ (การประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ) https://www.firstojs.com/index.php/JDW <p>วารสารธรรมวิชญ์ เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม) มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติทางด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา สังคมวิทยา พัฒนาสังคม เศรษฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศิลปกรรม และรัฐศาสตร์ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารธรรมวิชญ์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารธรรมวิชญ์ (Journal of Dhammawit)&nbsp;&nbsp;อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารธรรมวิชญ์ กำหนด</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ วารสารธรรมวิชญ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารธรรมวิชญ์</p> th-TH วารสารธรรมวิชญ์ (การประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ) 2697-6145 ชุดปฏิบัติธรรมป้องกันยุงโดยกระบวนเคลือบผิวเส้นใยด้วยละอองขนาดเล็ก https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1024 <p>โครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการพัฒนาต้นแบบชุดปฏิบัติธรรมป้องกันยุงโดยกระบวนการเคลือบผิวเส้นใยด้วยละอองขนาดเล็กของสารเพอร์เมทริน เนื่องจากยุงคือหนึ่งในพาหะสำคัญของโรคติดต่อนำโดยแมลง อาทิเช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ประกอบกับการขยายตัวของความเป็นเมืองได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในหลากหลายมิติรวมทั้งด้านสุขภาพจิต จากรายงานอัตราการฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิตปี 2563 พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายของประชากรไทยสูงขึ้นจาก 6.6 รายต่อประชากรแสนคน ในปี 2562 เป็น 7.3 รายต่อประชากรแสนคน การปฏิบัติธรรมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการฟื้นฟูจิตใจ โดยจากการศึกษาผ้า 3 ชนิด ได้แก่ ผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ ผ้าฝ้ายร้อยละ 95 ต่อโพสลีเอสเตอร์ร้อยละ 5 และผ้าฝ้ายร้อยละ 35 ต่อโพลีเอสเตอร์ร้อยละ 65 พบว่าผ้าที่สามารถดูดซับสารเพอร์เมทรินได้ดีที่สุดคือผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ รองลงมาคือผ้าฝ้ายร้อยละ 95 ต่อโพสลีเอสเตอร์ร้อยละ 5 โดยเมื่อส่องดูด้วยเครื่อง FT-IR Spectrometer พบการเปลี่ยนแปลงของแอมพลิจูดของช่วงคลื่นที่ระยะ 1400 ถึง 1900 cm-1 บนผ้าทั้งสองชนิดและพบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นภายหลังการพ่นมากกว่าร้อยละ 0.196 โดยจากการศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์พบว่าผู้ทำแบบสอบถามร้อยละ 83.5 รู้สึกสนใจในผลิตภัณฑ์ชุดปฏิบัติธรรมป้องกันยุง และมากกว่าร้อยละ 46.9 เคยประสบปัญหาการถูกรบกวนจากยุง</p> <p>คำสำคัญ : ชุดปฏิบัติธรรม, เพอร์เมทริน, การเคลือบผิวด้วยละอองขนาดเล็ก, การป้องกันยุง</p> พรนภัส เข็มทอง ##submission.copyrightStatement## 2019-10-22 2019-10-22 3 1 การวิเคราะห์เหตุแห่งความเสื่อมของพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1025 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ทัศนะเรื่องการเสื่อมของพระสัทธรรมของนักวิชาการ 2) ความเสื่อมของพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) วิธีป้องกันกันการเสื่อมของพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท</p> <p>ผลจากการศึกษาพบว่า พระสัทธรรมในพระพุทธศาสนาเถรนั้น ล้วนตกในกฎไตรลักษณ์ทั้งสิ้น มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พระสัทธรรมเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์แสดงไว้ นับตั้งแต่ราตรีที่ตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตได้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ</p> <p>เหตุแห่งความเสื่อมของพระสัทธรรมนั้น เกิดจากการที่พวกภิกษุมีการเล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันผิด เป็นคนว่ายาก ไม่อดทน ภิกษุที่เป็นเถระไม่เป็นแบบอย่างที่ดี มีการสะสมบริขาร ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา ไม่ปรารถนาความเพียร เป็นผู้ที่ไม่ประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ เราต้องรู้จักวิธีป้องกันยับยั้งบรรเทาไม่ให้พระสัทธรรมนั้นสูญหายไปได้ ด้วยการป้องกันด้านปริยัติ เนื้อหาสาระที่นำมาเล่าเรียนต้องเป็นเนื้อหาของหลักธรรมที่เป็นพุทธพจน์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ศึกษาสิ่งที่ถูกบัญญัติเพิ่มเติมโดยนักกวีหรือผู้รู้ทั้งหลาย ซึ่งกวีเหล่านั้นจะนำมาซึ่งความผิดเพี้ยนในพระสัทธรรมในภายหลังได้ ผู้เผยแผ่คำสอนนั้นต้องขยันถ่ายทอดบอกสอนแก่ชนรุ่นหลังต่อไป เพื่อที่จะได้ไม่ขาดผู้เป็นมูลรากจึงจะทำให้พระสัทธรรมนั้นดำรงอยู่ตลอดไป</p> พระพิลม จารุกิตฺติโก (แจ้งดี) ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การบริหารจัดการลำน้ำจางกรณีศึกษา ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1033 <p>รายงานการวิจัยเรื่องการบริหารจัดการลำน้ำจางกรณีศึกษา ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาสภาพการณ์และศักยภาพการบริหารจัดการน้ำ ตำบลน้ำโจ้อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2. เพื่อศึกษาการส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำ ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structure Interview) และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย(Analytic induction) ใช้วิธีตีความสร้างข้อสรุปข้อมูลจากรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็น จากการศึกษาด้านสภาพการณ์และศักยภาพการบริหารจัดการน้ำ ลำน้ำจางเขต ตำบลน้ำโจ้อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าการบริหารจัดการน้ำจากลำน้ำจางถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอุปโภคบริโภคและด้านการเกษตรกรรมเป็นหลักโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรมนั้น การปลูกข้าว ปลูกถั่วลิสง ปลูกถั่วฝักยาว รวมถึงการปลูกมะเขือเทศ ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ที่สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในเขตตำบลน้ำโจ้&nbsp; ศักยภาพการบริหารจัดการน้ำในอดีตที่ผ่านมา มีการบริหารจัดการน้ำอย่างไม่เป็นระบบทำให้เกิดปัญหาซ้ำซาก อาทิ ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการ อุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรม อันเนื่องจากการกักเก็บน้ำในช่วงหน้าแล้ง ปัญหาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก เป็นต้น ก่อนที่จะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ, ฝายทดน้ำ, และขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน รวมถึงพัฒนาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ลำน้ำจาง ในเวลาต่อมา&nbsp; ด้านการส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำของชุมชนในตำบลน้ำโจ้ ผลจาการศึกษาพบว่าประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่มีความตระหนักรู้ในหน้าที่ของตนเองในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำรักษาสภาพแวดล้อมในลำน้ำการร่วมกับหน่วยงานราชการกำจัดวัชพืช การไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงในลำน้ำ เป็นต้นเคารพกฎกติกาในใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมถึงการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของลำน้ำให้มีสภาพที่สมบูรณ์ มีพิธีการบวงสรวงลำน้ำเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์ที่ดูแลรักษาแหล่งน้ำโดยสืบทอดกันมาเป็นประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมถึงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการในชุมชนเพื่อสร้างความกินดีอยู่ดีของคนในชุมชนให้มีความยั่งยืนสืบไป</p> ศยามล อินทิยศ ศิลาวัฒน์ ชัยวงค์ สุทธิพร สายทอง ##submission.copyrightStatement## 2022-02-12 2022-02-12 3 1 คติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปของประชาชนในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1028 <p>งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการปิดทองพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาคติความเชื่อในการการปิดทองพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปของประชาชนในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ประชาชนในตำบลป่าแมต จำนวน 20 คน สรุปผลการศึกษาวิจัยว่า</p> <ol> <li class="show">การปิดทองพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนา ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเริ่มมีการปิดทองพระพุทธรูปตั้งแต่ปีไหน แต่มีการกล่าวถึงอานิสงส์ของการทำบุญด้วยทองที่ปรากฏในประวัติของพระมหากัจจายนะ ว่าท่านมีผิวพรรณสดใจดุจทองคำ เนื่องจากในอดีตชาติได้ทำบุญด้วยการถวายแผ่นอิฐทองคำสร้างเจดีย์ ในประเทศไทยมีการค้นพบพระพุทธรูปที่มีการปิดด้วยทองคำในสมัยทวารวดี มีการค้นพบพระพุทธรูปที่ถ้ำเขางู จังหวัดราชบุรี ในสมัยสุโขทัยมีการค้นพบพระพุทธรูปที่ปิดทอง โดยมีปรากฏในหลักฐานเป็นพระพุทธรูปที่วัดศรีชุม รวมถึงหลักฐานที่จารึกไว้ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า มีพระอัฏฐารศที่ปิดด้วยทองคำ ในสมัยอยุธยารัชสมัยของพระเอกาทศรถก็ได้มีการจารึกว่ามีการนำเอาแผ่นทองเปลวอย่างหนาไปปิพระพุทธชินราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็เช่นกัน มีการนำเอาทองคำไปปิดพระพุทธรูปและเจดีย์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และในปัจจุบันก็นิยมนำเอาแผ่นทองคำเปลวไปปิดพระพุทธรูปประจำวัน รวมถึงรูปหล่อพระเกจิต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมนั้นใช้แผ่นทองคำเปลวบริสุทธิ์ในการปิด เพื่อให้เกิดความสวยงามและมีคุณค่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนานำเอาแผ่นทองคำทางวิทยาศาสตร์ประประยุกต์ใช้แทนแผ่นทองคำเปลว เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า</li> <li class="show">คติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปในพระพุทธศาสนามี 3 คติที่สำคัญ คือ</li> </ol> <p>1) คติความเชื่อเรื่องการบูชา คือ การปิดทองพระพุทธรูปถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าโดยตรง ความเชื่อเรื่องการปิดทองพระพุทธรูปจึงมาพร้อม ๆ กับแนวคิดเรื่องการบูชาสิ่งที่ควรบูชาในพระพุทธศาสนา มีการนำเอาสิ่งของที่มีค่า เช่น เงิน ทอง มาเป็นส่วนหนึ่งของการบูชา 2) คติความเชื่อเรื่องโลกนี้และโลก ถือเป็นคติความเชื่อที่พุทธศาสนิกชนไทยได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำบุญ ด้วยความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ทำให้เกิดการกระทำที่เรียกว่ากุศลหรือการทำบุญขึ้น เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจว่า หากได้สร้างกุศลหรือการทำบุญไว้ในปัจจุบันชาติก็จะส่งผลให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีในโลกหน้า และ 3) คติความเชื่อเรื่องการมีส่วนร่วม คือ คติความเชื่อที่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนจากหลายภาคส่วน ในการสร้างพระพุทธรูปและการร่วมปิดทอง เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาหนึ่งองค์นั้นจะต้องอาศัยกำลังทรัพย์ และกำลังฝีมือของช่างเป็นสำคัญ บางคนไม่สามารถที่จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาเพียงลำพังได้ จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการสร้างโดยการปิดทองพระพุทธรูป</p> <ol start="3"> <li class="show">คติความเชื่อในการปิดทองพระพุทธรูปของประชาชนในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่ามี 4 ด้าน คือ 1) คติความเชื่อด้านเป้าหมายของการปิดทองพระพุทธรูป ประชาชนในตำบลป่าแมตมีความเชื่อเรื่องเป้าหมายของการปิดทองพระพุทธว่าการปิดทองพระพุทธรูปทำให้พระพุทธรูปมีความสวยงามและมีคุณค่า เป็นการทำบุญทางพระพุทธศาสนา ผลที่เกิดขึ้นจากการปิดทองพระพุทธรูปสามารถช่วยให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มีโชคลาภ และทำให้เกิดความสบายใจต่อผู้ปฏิบัติ 2) คติความเชื่อด้านตำแหน่งของการปิดทองพระพุทธรูป พบว่า ประชาชนมีความเชื่อที่แตกต่างกัน 4 ลักษณะ คือ (1) กลุ่มที่เชื่อการปิดทองพระพุทธรูปตำแหน่งต่าง ๆ มีอานิสงส์ส่งผลทำให้สิ่งที่ปรารถนาสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (2) กลุ่มที่เชื่อว่าการปิดทองไม่จำเป็นต้องระบุตำแหน่งเพราะถือเป็นการทำบุญที่จะก่อให้เกิดความสบายใจ (3) กลุ่มที่เชื่อว่าการปิดทองเป็นเพียงตกแต่งพระพุทธรูปเพื่อให้เกิดความสวยงามและเกิดคุณค่าทางด้านพุทธศิลป์ และ (4) กลุ่มที่เชื่อว่าการปิดทองตำแหน่งต่าง ๆ เป็นเพียงกุศโลบายในการสร้างความสบายใจแก่ผู้ปฏิบัติและเป็นกุศโลบายในการเชิญชวนคนเข้าวัดทางพระพุทธศาสนา 3) คติความเชื่อด้านกระบวนการขั้นตอนการปิดทองพระพุทธรูป พบว่า กระบวนการขั้นตอนในการปิดทองพระพุทธรูปนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นใจในการปิดทองพระพุทธรูป และ 4) คติความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของการปิดทองพระพุทธรูป พบว่า ประชาชนมีความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของการปิดทองพระพุทธรูปในแต่ละตำแหน่งว่าจะสามารถช่วยให้ชีวิตประสบแต่ความสุขความเจริญ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ และส่งผลให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีในโลกหน้า</li> </ol> <p>&nbsp;</p> พระนิเทศก์ โรจนญาโณ (คำมูล) รวีโรจน์ ศรีคำภา พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 พุทธวิธีส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1029 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพบริบทและปัญหาอุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อเสนอพุทธวิธีการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาภาคเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 24 รูป/คน เพื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา คือการทำให้ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กัน ด้วยการมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ดี&nbsp; ทำให้มีโรคน้อย มีเป้าหมายในการบริโภค มีสติพิจารณาฉันเฉพาะอาหารที่เป็นประโยชน์ รู้ประมาณในการบริโภคและห้ามดื่มสุราและเมรัย ทำให้มีพลานามัยสมบูรณ์ กระปรี้กระเปร่า อยู่สำราญดี จนเกิดเป็นสุขภาพองค์รวมที่สมบูรณ์ทั้งด้านกาย จิต สังคม และปัญญา</p> <p>2) สภาพบริบทของการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินนโยบายด้านสาธารณสุขให้กับวัดและพระสงฆ์สามเณร นอกจากนี้พบประเด็นที่มีความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายด้านสาธารณสุขและการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ นั่นคือการเชื่อมโยงการทำงานในระดับปฏิบัติการจากองค์ความรู้ของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พ.ศ.2560 และโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพของคณะสงฆ์อำเภอพิชัย เชื่อมโยงองค์ความรู้จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาอุปสรรคในการส่งเสริมสุขภาวะทั้งในด้านของพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ การขาดบุคลากรในการส่งเสริมการดูแลสุขภาวะของพระสงฆ์ และความต้องการการดูแลสุขภาพแบบมีร่วมส่วนและเครือข่ายของพระสงฆ์ การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม จะนำไปสู่การพัฒนาและการหาแนวทางในการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ที่เหมาะสม</p> <p>3) พุทธวิธีส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการผสมผสานแนวคิดธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พ.ศ.2560 กับแนวคิดของโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพของคณะสงฆ์อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ การใช้แนวคิด “พระคิลานุปัฏฐาก” เป็นพุทธวิธีส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เพราะเป็นฐานแนวคิดการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคมกับการดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ที่ประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ใน 3 ประเด็น คือ (1) หลักพระธรรมวินัยกับการดูแลสุขภาพ : พระคิลานุปัฏฐาก มีองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยและการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย และสามารถให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยเหลือ ในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ได้ (2) การส่งเสริมสุขภาพและการดูแลพระสงฆ์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้: พระคิลานุปัฏฐากมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มพระสงฆ์ พฤติกรรมเสี่ยง สามารถสังเกตและให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะวิกฤติได้ ตลอดจนสามารถดูแลช่วยเหลือพระสงฆ์ที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ (3) พระคิลานุปัฏฐากกับการพัฒนาวัดและชุมชน : พระคิลานุปัฏฐาก มีศักยภาพในการสร้างการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายพระสงฆ์แกนนำชุมชนในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ มีความรู้ ความเข้าใจในองค์ประกอบและความสำคัญของการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ มีทัศนคติและมีทักษะในการส่งเสริมสุขภาพดูแลพระสงฆ์ สามารถนำความรู้ ที่ได้ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการดูแลพระสงฆ์ได้อย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัยและถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>&nbsp;</p> พระใบฎีกาอรรถพล เตชพโล (ปานกลิ่น) พระศักดิธัช สํวโร รวีโรจน์ ศรีคำภา ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 รูปแบบการจัดการศึกษาสงเคราะห์ระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบน https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1034 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์โครงการวิจัย 1) เพื่อศึกษารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูง 2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการการสงเคราะห์ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงที่เหมาะสม 3) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงต่อไป โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก กับกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มนิสิตแกนนำชาวพุทธ กลุ่มผู้ปกครองของนิสิต พระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา กลุ่มผู้นำในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน / สอ.บต. รวมทั้งสิ้น 238 รูป/คน&nbsp; ผลการวิจัยมี พบว่า 1. ผลการศึกษารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูง พบว่า มีการบริหารจัดการโดยสาขาวิชาในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยขึ้น และมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ได้คัดสรรนิสิตเข้ามาเรียน โดยจัดการเรียนการสอนโดยฝึกนิสิตให้มีจิตสาธารณะ โดยทางสาขาวิชาได้ร่วมกับหน่วยงานทางสังคมสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการฝึกงานด้านสังคมสงเคราะห์ ให้เป็นไปตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ 2. ผลการศึกษาการบริหารจัดการการสงเคราะห์ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูงที่เหมาะสม พบว่า ด้านทุนการศึกษาได้รับสนับสนุนจากพระพรหมบัณฑิต โดยทางโครงการสนับสนุนความเป็นอยู่ในการมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยตลอดหลักสูตร ในช่วงการเรียนการสอนมีการฝึกอบรมนิสิตด้านความประพฤติตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ 3. ผลการศึกษาเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนบนพื้นที่สูง พบว่า 1) ด้านการบริหารจัดการ ควรจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาเพื่อนิสิตแกนนำ 2) ด้านหลักสูตร วิชาพื้นฐานควรเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ภาษาไทย ส่วนวิชาแกนสังคมสงเคราะห์ ในทุกวิชาควรมีการเสริมเนื้อหาด้านจิตอาสาให้มากขึ้น โดยเฉพาะวิชาฝึกงานสังคมสงเคราะห์ควรตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนให้นิสิตมีงบประมาณในการทำโครงการร่วมกับชุมชนให้มากขึ้น</p> ประเสริฐ ปอนถิ่น พระครูสาทรธรรมสิทธิ์ (สิทธิพันธ์ วันสูง) โสภา ปอนถิ่น ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 กระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1035 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อเสนอกระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)&nbsp; โดยการศึกษาเอกสาร ผนวกกับสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) หลักการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนา เน้นการดูแลใน 2 มิติ คือ การดูแลด้านร่างกายและจิตใจเป็นพื้นฐาน และเชื่อมโยงไปสู่การดูแลที่ให้ความสำคัญกับมิติแห่งความเป็นมนุษย์ หรือมิติแห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์จนถึงวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชีวิตทางด้านกาย ศีลหรือสังคม จิตใจ และปัญญา มุ่งให้ผู้ป่วยเกิดความงอกงามตามหลักไตรสิกขา เป็นการดูแลที่มุ่งพัฒนาปัญญาให้รู้เท่าทันโลกและชีวิต มุ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้เท่าทันความตาย ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อความตาย เพื่อช่วยประคับประคองจิตใจของผู้ป่วยให้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ทำชีวิตให้มีจิตผ่องแผ้วในวาระสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต เมื่อจากโลกนี้ ย่อมไปสู่สุคติ โลกสวรรค์</p> <p>2) หลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในกระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ หลักธรรมสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย และหลักธรรมสำหรับผู้ป่วยเองซึ่งประกอบไปด้วยพรหมวิหารธรรม สังคหวัตถุ กัลยาณมิตตตา อภิณหปัจเวกขณ์ โยนิโสมนสิการ อัปมาทะ และการเจริญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ล้วนเป็นหลักธรรมที่ประสานสอดคล้องกับหลักการดูแลผู้ป่วยตามหลักการทางพระพุทธศาสนา คือ การดูแลที่ครอบคลุมด้านร่างกายและจิตใจเป็นหลัก</p> <p>3) ด้านกระบวนการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้พัฒนากระบวนการมาจากแนวคิดและวิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามหลักการทางพระพุทธศาสนา โดยบูรณาการกับหลักการทางการแพทย์แผนปัจจุบันของโรงพยาบาลตรอนที่ใช้กระบวนการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) สามารถสรุปเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินสภาพผู้ป่วยเพื่อค้นหาความต้องการการดูแลแบบประคับประคอง, ขั้นตอนที่ 2 แจ้งข้อมูลการรักษาอย่างค่อยเป็นค่อยไปแก่ผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนช่วยประสานงานเกี่ยวกับความต้องการการรักษา, ขั้นตอนที่ 3 ดูแลประคับประคองจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านสังคมเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัวกับภาวะที่เป็นอยู่ได้อีกทั้งตอบสนองต่อความต้องการที่ผู้ป่วยเห็นว่ามีคุณค่า, ขั้นตอนที่ 4 การส่งต่อเครือข่ายเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน และขั้นตอนที่ 5 ประเมินความเหมาะสมเกี่ยวกับการดูแลรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ ครอบคลุมกระบวนการดูแลตามแนวพระพุทธศาสนาแบบองค์รวมใน 4 มิติ คือ ด้านกาย ใช้หลักการจัดสัปปายะ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับอาการและสภาพผู้ป่วย ร่วมกับการดูแลรักษาตามหลักการแพทย์ปัจจุบัน, ด้านจิตใจ ใช้หลักการปฏิบัติตามความเชื่อความศรัทธาของผู้ป่วย ได้แก่ การถวายสังฆทาน การสวดมนต์สืบชะตา การบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อมือ ใช้หลักสมถะภาวนา และการสวดมนต์ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอย่างสม่ำเสมอ ด้านสังคม ใช้หลักการรับฟัง การสัมผัส และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัวและผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย และด้านปัญญา ใช้หลักการรับฟังและการสัมผัสด้วยความรักความเมตตาการสนทนาธรรม การแสดงธรรม และการเจริญวิปัสสนาภาวนา เมื่อกระบวนการทั้ง 4 มิติ มีความประสานสอดคล้องกัน ย่อมที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทำชีวิตให้มีคุณภาพ มีจิตผ่องแผ้ว ในวาระสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต ที่เรียกว่า การตายดีและสมศักดิ์ศรี</p> พระปลัดกมลมาศ เลขธมฺโม ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 ศึกษาการบริหารความเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1036 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเสี่ยงที่มีต่อพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงของพระพุทธศาสนาในสังคมปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยค้นคว้าจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา แล้วนำมาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ความเสี่ยงที่มีต่อพระพุทธศาสนา มีอยู่ 2 ประการ คือ 1) ความเสี่ยงภายใน หมายถึง ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากพุทธบริษัท 4 โดยการประพฤติเสื่อม หรือทำให้วิปริต 2) ความเสี่ยงภายนอก หมายถึง ความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากบุคคลภายนอกศาสนา การรุกรานจากศาสนาอื่น และปัจจัยทางสังคม ความเสี่ยงทั้ง 2 ประเภทนี้ถือเป็นภัยคุกคามในการดำรงอยู่ของพระสัทธรรมและความดีงามแห่งสงฆ์</p> <p>2) การบริหารความเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นหลักการและวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพื่อการบริหารจัดการพระพุทธศาสนาครอบคลุมทั้งการปกครอง และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยในด้านการปกครองนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีส่วนสำคัญในการทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่น พระสัทธรรมดำรงอยู่มี 2 ประเด็น คือ (1) การบริหารความเสี่ยงด้านการบัญญัติพระธรรมวินัย ที่บัญญัติขึ้นเมื่อมีเหตุประพฤติเสื่อม เพื่อควบคุมการละเมิดพระวินัยให้เกิดความผาสุกแห่งคณะสงฆ์ (2) การบริหารความเสี่ยงด้านหลักธรรมคำสอน ทรงบัญญัติหลักมหาปเทส 4 เพื่อเป็นเกณฑ์ในการติดสินพระธรรมวินัยเมื่อเกิดปัญหาสัทธรรมปฏิรูป และการพัฒนาพุทธบริษัทที่จะออกไปเผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยการฝึกอบรมตนให้เกิดปัญญาที่แท้จริง เพื่อยังความเลื่อมใสของประชาชนให้เกิดขึ้น</p> <p>3) แนวทางการบริหารความเสี่ยงในสังคมปัจจุบัน มี 3 ประเด็น คือ (1) การบริหารความเสี่ยงตามหลักพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ มีแนวทางการประยุกต์ใช้ที่สำคัญ คือ การยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักการสูงสุดและมอบอำนาจให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ โดยเป็นผู้จัดการทั้งในด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาบุคคล และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคณะสงฆ์ โดยมีการบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ร่วมกับศาสตร์สมัยใหม่ ภูมิปัญญาสากล และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย คือ การรักษาสืบทอดพระธรรมวินัย การเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งการพัฒนาบุคคลและสังคม (2) การบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เป็นการพัฒนาการทำงานคณะสงฆ์ที่จะทำได้โดยตรงคือ การให้คำแนะนำทางจิตใจ เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตต่าง ๆ สามารถเป็นที่พึ่งทางจิตใจด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ด้วยภารกิจ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณะสงเคราะห์ เป็นการดำเนินงานพื้นฐานที่อาศัยการมีส่วนร่วมกับชุมชน คือ วัดพึ่งชุมชน ชุมชนพึ่งวัด เพื่อให้เกิดความเจริญยิ่งขึ้นตามหลักการทางพระพุทธศาสนา และ (3) แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านพื้นที่เครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนา โดยมีการปรับประยุกต์หลักพุทธธรรมเข้ากับบริบทของพื้นที่ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการวางแผนร่วมกับชุมชน ภาครัฐ เอกชน เพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับพื้นที่และตามหลักพระพุทธศาสนา โดยใช้กลไก คือ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การติดตามประเมินผล และการทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงการสามารถประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการทำงานอีกด้วย เช่น หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อสร้างความมั่งคงมิให้เกิดความเสื่อมขององค์กร หรือการใช้ลักอริยสัจ 4 เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการทำงานที่แท้จริง</p> พระเรืองศักดิ์ อธิมุตฺโต พรหมเรศ แก้วโมลา พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1037 <p>การศึกษาวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย” มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธ ตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 15 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">บริบทชุมชนวิถีพุทธตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบว่า มีคณะสงฆ์อำเภอศรีสัชนาลัย ร่วมกับสำนักวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 องค์กรปกครองส่วนถิ่น ผู้นำชุมชนและประชาชนในพี้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนโดยมีรากฐานทางด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมเป็นวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และมีการดำเนินกิจกรรมตามนโยบายที่ทางคณะสงฆ์ ส่วนราชการและประชาชนอย่างสม่ำเสมอ</li> <li class="show">หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า บ้าน (ผู้นำชุมชนและประชาชน) วัด (พระสงฆ์) โรงเรียน (ครูและนักเรียน) นำมาบูรณาการ ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 คือ 1) ทาน มีการแบ่งปันด้วยปัจจัย 4 และธรรมทานซึ่งกันและกันภายในชุมชนอย่างเหมาะสมในยามปกติและในยามประสบภัยต่าง ๆ 2) ปิยวาจา มีการสื่อสารกันด้วยถ้อยคำที่สุภาพและเป็นกันเองระหว่างสมาชิกในชุมชน 3) อัตถจริยา มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างเครือญาติและคนในชุมชนด้วยจิตอาสา 4) สมานัตตตา มีการประพฤติปฏิบัติกิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน</li> <li class="show">แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนวิถีพุทธ ตามโครงการหมู่บ้านบวร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบว่า มี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ส่วนบุคคล สำหรับพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ประชาชน ครู นักเรียน 1) ใช้ในกิจวัตรประจำวันซึ่งได้รับการปลูกฝังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) ได้รับองค์ความรู้จากคนในครอบครัว โรงเรียนและพระสงฆ์เป็นผู้ถ่ายทอด 3) ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในชุมชนและสังคมอย่างสม่ำเสมอ 2. ส่วนงาน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน 1) ผู้นำ และประชาชนถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันในการอยู่ร่วมกันในสังคม 2) พระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้นำจิตใจด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างและอบรมจิตใจพุทธศาสนิกชน 3) ครูบาอาจารย์ทำหน้าที่อบรมกุลบุตรกุลธิดาให้มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม 3. ส่วนรวม (นโยบาย) คือ ระดับจังหวัดถึงประเทศ 1) สนับสนุนและส่งเสริมงบประมาณ บุคลากรและสื่อที่ช่วยขับเคลื่อนพันธกิจ บวร อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 2) สร้างเครือข่าย บวร ในระดับจังหวัด ภูมิภาคและประเทศ 3) มีการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานและนำไปพัฒนา บวร อย่างชัดเจน</li> </ol> พระใบฎีกานพดล ธีรปญฺโญ พรหมเรศ แก้วโมลา พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์ . ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 ศึกษาความเชื่อและคติธรรมในเทศกาลสงกรานต์ของประชาชนตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1038 <p>การวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์ความเชื่อและคติธรรมในเทศกาลสงกรานต์ ของประชาชนในตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์” มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาเทศกาลสงกรานต์ของประชาชนในตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เพื่อศึกษาความเชื่อและคติธรรมที่ปรากฏในเทศกาลสงกรานต์ของประชาชนในตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ 3. เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อและคติธรรมที่ส่งผลต่อการต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร การลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับความเชื่อคติธรรมที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ประวัติความเป็นเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ของประชาชนในชุมชนตำบลบ้านโคก <br> เป็นเทศกาลที่ได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทย ทำให้พิธีกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีทั้งเหมือนและแตกต่างกันไป ทั้งในความเชื่อและพิธีกรรมหรือกิจกรรม แต่พิธีกรรมและกิจกรรมที่ประชาชนตำบลบ้านโคกยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมานั้น เช่น กิจกรรมยิงปืนรับสังขาร กิจกรรมการแห่ต้นดอกไม้และแห่ฟด กิจกรรมอยู่วัดแห่ข้าวพันก้อน กิจกรรมการทำบุญสังขาร กิจกรรมการสรงน้ำ และกิจกรรมก่อเจดีย์ทราย ในการประกอบกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้เห็นถึงความเสียสละและความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ อพยพมาจากประเทศลาว เนื่องด้วยการล่าอาณานิคมในสมัยพระเจ้าตากสินแห่งธนบุรีทำให้เมืองจำปาศักดิ์ เมืองเวียงจันทร์ และเมืองหลวงพระบางตกอยู่ภายใต้ราชอาณาจักรของประเทศไทย พื้นที่ฝั่งขวาของจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนหนึ่งเคยเป็นอาณาจักรหลวงพระบาง คือ บริเวณเขตอำเภอน้ำปาด อำเภอทองแสนขัน อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคกในปัจจุบัน</li> <li class="show">ด้านความเชื่อและคติธรรมในเทศกาลสงกรานต์ของประชาชนตำบลบ้านโคกอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ความเชื่อเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิต ที่ทำให้เกิดการยอมรับและมั่นใจในการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา โดยเฉพาะความเชื่อขั้นพื้นฐานของการให้ทาน พิจารณาได้จากกิจกรรมในเทศกาลสงกรานต์ของประชาชนในตำบลบ้านโคกที่ เช่น และต้นดอกไม้ การอยู่วัดถวายข้าวพันก้อน การทำบุญสังขาร การรดน้ำดำหัว แม้กระทั่งการขนทรายเข้าวัด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นวัตถุทาน การใช้วาจาให้เกิดประโยชน์ คือ การแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์ ถึงอานิสงส์ต่าง ๆ และสำคัญที่สุด ก็คือ การรู้จักการให้อภัย ที่เกิดจากการขอขมาในวันรดน้ำดำหัว กิจกรรมที่ประชาชนในตำบลบ้านโคกได้ยึดถือและปฏิบัตินั้น ถือว่าเป็นการช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคม คือ การอยู่ร่วมกัน การทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยการขวนขวายช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชน อย่างสม่ำเสมอ ตรงกับ คำว่า สมานัตตา และนำไปสู่ความกตัญญูกตเวที</li> <li class="show">วิเคราะห์ความเชื่อและคติธรรมที่ส่งผลต่อการต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า (1) คติธรรมที่ส่งผลต่อการต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ด้านครอบครัว ทำให้สมาชิกครอบครัวมีโอกาสกลับมาอยู่พร้อมหน้ากัน และได้ร่วมกันประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำความสะอาดบ้าน การเตรียมอาหารเพื่อไปทำบุญ สร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว นอกจากนี้ลูกหลานยังได้แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่หรือแม้กระทั่งผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว (2) ด้านชุมชน การสร้างความสมัครสมานสามัคคีของประชาชนในตำชุมชนตำบลบ้านโคกที่เกิดจากการร่วมด้วยช่วยกันในการเตรียมความพร้อมต่าง ๆ เช่น การช่วยกันทำหิ้งเพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปลงไปสรงน้ำ การช่วยกันเตรียมต้นฟดและต้นดอกไม้ การช่วยกันเตรียมข้าวเพื่อทำข้าวพันก้อนถวายพระพุทธเจ้า การเตรียมสถานที่ก่อเจดีย์ทราย โดยการแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ (3) ด้านพระพุทธศาสนา กิจกรรมส่วนมากที่ปรากฏในเทศกาลสงกรานต์ ล้วนมีความสอดคล้องกับวัด ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมแห่ฟดหรือต้นดอกไม้ การนอนวัดถวายข้าวพันก้อนที่ประชาชนในตำบลบ้านโคกได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าวัดยังเป็นศูนย์กลาง เป็นการส่งเสริมและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี</li> <li class="show"></li> </ol> พระอธิการสมชาย ฉินฺนาลโย พระราชเขมากร . พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติเพื่อเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1039 <p>การวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติเพื่อเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาเทวดาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 2) ศึกษาแนวทางการเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก และ 3) วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติเป็นเทวดาในพระไตรปิฎก เป็นการวิจัยเชิงเอกคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถคาถา เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาอธิบายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงเทวดาไว้ 3 ประเภท คือ 1. สมมติเทพ เป็นเทวดาโดยสมมติ 2. อุปปัตติเทพ เป็นเทวดาโดยกำเนิด และ 3. วิสุทธิเทพ คือ การเป็นเทวดาโดยความบริสุทธิ์ ภพภูมิของเทวดามีทั้งหมด 16 ชั้น แต่ละชั้นต่างก็ได้กำหนดช่วงอายุในการอาศัยต่างกัน โดยพิจารณาจากผลบุญที่ได้กระทำไว้เมื่อยังเป็นมนุษย์ ประกอบไปด้วย อรูปพรหม 4 ชั้น เทวโลก คือ อาณาจักรของเทพ ได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น ส่วนมนุษย์ ได้แก่ ภพภูมิของมนุษย์อยู่ชั้นชนิดเดียวกับสวรรค์ 6 ชั้น เรียกว่ากามสุคติภูมิ</li> <li class="show">การเป็นเทวดาในสวรรค์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคอันเป็นทิพย์มากมายนั้นขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่ได้สั่งสมไว้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้ทำบุญให้ทาน รักษาศีล ทำอัญชลีกรรมต่อท่านผู้มีศีล ตามประทีปโคมไฟ ฟังธรรม ตั้งอยู่ในศีลธรรม เจริญภาวนา มีความสัตย์ ความไม่โกรธ ความซื่อสัตย์ต่อสามี บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา เป็นต้น ดังนั้น หลักการทำบุญกุศลที่ถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนามี 3 ประการ ได้แก่ (1) หลักทาน การให้ทานที่สมบูรณ์ครบถ้วนด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธาจะมีผลมากมีอานิสงส์มาก (2) หลักศีล รักษาศีล 5 รักษาอุโบสถศีลเป็นประจำ ตั้งใจงดเว้นจากบาปอกุศลทั้งหลาย ย่อมส่งผลให้อยู่เป็นสุขในภพปัจจุบัน และภพหน้า (3) หลักภาวนา ได้ฟังธรรม เจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาสภาวธรรมต่าง ๆ ให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริงจนบรรลุธรรมขั้นสูงสุด คือ พระนิพพาน</li> <li class="show">แนวทางปฏิบัติเพื่อไปเกิดเป็นเทวดาในพระไตรปิฎกมี 3 แนวทาง คือ 1. การให้ทาน 2. การรักษาศีล และ 3. การเจริญจิตภาวนา เรียกกว่า บุญกิริยาวัตถุ ได้แก่ ทานมัย การทำบุญด้วยวัตถุทาน การให้ทานด้วยข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ตั่ง เตียง และเครื่องประทีป การให้ทานจึงเป็นได้ทั้งหลักการ และแนวทางปฏิบัติที่มีความสัมพันธ์นำบุคคลไปเกิดเป็นเทวดาในชั้นภูมิต่าง ๆ สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล เพราะศีลเป็นแนวทางปฏิบัติในการสร้างวินัยในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ เพื่อนำมาซึ่งความผาสุกแก่ตนเองและสังคมให้เกิดความเรียบร้อยดีงาม ภาวนามัย เป็นการปฏิบัติหลักภาวนาโดยอาศัยเหตุ 4 ประการ คือ กายภาวนา สีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา สามารถนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อละความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทำตนให้รุ่งเรืองภายนอก คือ มีข้าวของ เงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และรุ่งเรืองภายใน คือ การตั้งตนอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ 3 สามารถยังมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ให้สำเร็จด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลที่ได้สั่งสมมา</li> </ol> พระมหานิยม ญาณสิทฺธิ พระราชเขมากร . พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การตรวจชำระและศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์สืบชาตาฉบับพระครูประโชติสิริวัฒน์ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1040 <p>การวิจัยเรื่อง “การตรวจชำระและศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์สืบชาตาฉบับพระครูประโชติสิริวัฒน์” มี 3 วัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมสืบชาตาในสังคมล้านนา 2) ตรวจและชำระคัมภีร์สรากริวิชชาสูตรและคัมภีร์ทิพย์มนต์หลวงสืบชาตาฉบับพระครูประโชติสิริวัฒน์ และ 3) ศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์สรากริวิชชาสูตรและคัมภีร์ทิพย์มนต์หลวงสืบชาตา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาประวัติความเป็นมา ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมสืบชาตา การตรวจชำระ และศึกษาหลักธรรมในคัมภีร์ดังกล่าว&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">พิธีกรรมสืบชาตาเป็นพิธีกรรมหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในสังคมล้านนาอย่างยาวนาน เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับมงคลที่เสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคลทั่วไปในวาระโอกาสต่าง ๆ เช่น งานที่เป็นสิริมงคล หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโดยนำมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ “อายุวัฒนกุมาร” เมื่อครั้งยังเป็นทารก ถูกทำนายว่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 7 วัน ด้วยความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก จึงได้นำทารกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงรับรู้ด้วยญาณ จึงตรัสรับสั่งให้พระสงฆ์เตรียมสถานที่ และทรงเป็นประธานในการสวดพระปริตร ใช้เวลาในการสวน 7 วัน เพื่อขจัดปัดเป่าอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทารก ภายหลังทารกดังกล่าวจึงมีอายุยาวนานถึง 120 ปี พิธีกรรมสืบชาตาถูกนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสังคมร่วมสมัยมากขึ้น เช่น พิธีกรรมสืบชาตาเมือง พิธีกรรมสืบชาตาแม่น้ำ และพิธีกรรมสืบชาตาป่าไหม้ ดังที่ปรากฏในสังคมปัจจุบัน</li> <li class="show">การตรวจและชำระคัมภีร์สรากริวิชาสูตรและคัมภีร์ทิพย์มนต์หลวงสืบชาตาฉบับของพระครูประโชติสิริวัฒน์ทั้ง 5 คัมภีร์ พบว่า การเขียนแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบที่หนึ่ง คือ เป็นการเขียนตามสำเนียงของภาษาพื้นเมือง ทำให้การออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้างรูปแบบที่เขียนด้วยภาษาบาลี รูปแบบที่สอง เป็นการแต่งประโยคและศัพท์อักขระที่ผิดจากไวยากรณ์ของภาษาบาลี ทำให้ไม่สามารถตีความหมายของประโยค หรือเนื้องหาได้ ก็ยังคงรูปเดิมไว้ ส่วนประโยคไหนที่ที่มีความผิดพลาดเล็กน้อย และสามารถตีความหมายได้ ก็ได้ตรวจชำระให้ได้ใจความสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลี</li> <li class="show">หลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์สืบชาตา พบว่า มีหลักคารวธรรม 6 ที่ว่าด้วยการเคารพนบน้อมพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ในศีล ในความไม่ประมาท และมีใจเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์ หลักโพชฌงค์ 7 มี สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา หลักการสร้างบารมีของพระโพธิสัตย์ หรือเรียกว่าบารมี 30 ทัด มีทานบรมี สีลบารมี เนขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี โดยแบ่งระดับของบารมีออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต้น เรียกว่าบารมี ระดับกลาง เรียกว่า อุปบารมี และระดับสูง เรียกว่า ปรมัตถบารมี และหลักเมตตาภาวนา 3 ที่กล่าวถึงการแผ่เมตตาแบบเจาะจง การแผ่เมตตาแบบไม่เจาะจง และการแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง 10</li> </ol> พระมหาณัฐพล พลาธิโก พระราชเขมากร . พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 ศึกษาคติธรรมในประเพณีกวนข้าวทิพย์ของประชาชนในตำบล พญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1041 <p>งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดง ตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในประเพณีกวนข้าวทิพย์ของประชาชนในตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีกวนข้าวทิพย์ของประชาชนในตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาภาคเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-interviews) ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 20 คน และทำการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดง ตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประเพณีที่มีคติความเชื่อมาจากการถวายข้าวมธุปายาสแด่พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ของนางสุชาดา โดยถือว่ามีผลานิสงส์มาก ด้วยเหตุนี้ประชาชนตำบลพญาแมนจึงทำพิธีกวนข้าวทิพย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาสเชื่อกันว่า เมื่อทำครบถ้วนตามพิธีแล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ผู้ทำและผู้บริโภค ประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดง เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ในวันวิสาขบูชา โดยหลวงพ่อสำเนียง ศรีสุนทร (พระครูวิรุฬห์ศีลวัตร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดง เจ้าคณะอำเภอพิชัย ข้าวทิพย์ของวัดบ้านดงจัดเป็นอัตลักษณ์เฉพาะเป็นหนึ่งเดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์ ในปัจจุบันประเพณีกวนข้าวทิพย์จะถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม ของทุกปี</li> </ol> <p>คติธรรมที่ปรากฏในประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประกอบไปด้วย 1) คติธรรมเรื่องความศรัทธา 2) คติธรรมเรื่องความสามัคคี หรือความร่วมมือของประชาชน 3) คติธรรมเรื่องการให้ทานหรือการเสียสละ 4) คติธรรมเรื่องเบญจศีล-เบญจธรรม 5) คติธรรมเรื่องความกตัญญู&nbsp; 6) คติธรรมเรื่องขันติความอดทน เพราะเป็นประเพณีที่ผู้ประกอบพิธีจะต้องใช้ความอดทนจากความร้อนและควันจากเตาไฟ ความพร้อมเพรียงและความชำนาญ เพื่อที่จะสามารถกวนข้าวทิพย์ให้แล้วเสร็จ</p> <p>ประเพณีกวนข้าวทิพย์ของวัดบ้านดง มีคุณค่าทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านครอบครัว คือ เป็นประเพณีที่ทำให้กลุ่มเครือญาติได้มีโอกาสพบปะกัน 2) คุณค่าด้านสังคม คือ สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างประชาชน และหน่วยงานภายในชุมชน 3) คุณค่าด้านขนบธรรมเนียมประเพณี คือ เป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นระยะเวลากว่า 60 ปี 4) คุณค่าด้านศาสนา&nbsp; เป็นประเพณีที่ช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาทั้งในด้านการเรียนรู้พุทธประวัติและการซึมซับคติธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต 5) คุณค่าด้านเศรษฐกิจ คือ เป็นการช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีความคึกคัก มีการเปิดร้านค้าบริเวณรอบพิธี และมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนบูชาข้าวทิพย์ไปรับประทาน นำปัจจัยที่ได้รับไปบำรุงเสนาสนะภายในวัด และ 6) คุณค่าด้านการอนุรักษ์ คือ เป็นประเพณีที่มีการสืบทอดมาเป็นเวลานาน ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากชาวบ้านให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี เพื่อเป็นการสืบทอดอนุรักษ์ประเพณีให้คู่กับชุมชนต่อไป</p> พระครูพิมลกิตติคุณ . พรหมเรศ แก้วโมลา พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 ศึกษาคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในเรื่องพระมาลัย https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1042 <p>การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระมาลัย <br> 2) เพื่อศึกษากฎแห่งกรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3) เพื่อวิเคราะห์คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในเรื่องพระมาลัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">เรื่อง พระมาลัย มีเนื้อสาระที่มีส่วนคล้ายกับพระสูตรสาเลยยกสูตร และเวรัญชกสูตรที่กล่าวถึงเหตุปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ที่ประพฤติอธรรมได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก และที่ประพฤติธรรมได้ไปเกิดในสุคติสวรรค์ โดยการเล่าเรื่องผ่านพระมาลัยที่มีบุญญาธิการมาก มีปรีชาญาณเฉลียวฉลาดหลักแหลม มียศบริวารเป็นพระขีณาสพผู้ประเสริฐ ได้ลงไปโปรดสัตว์นรก และขึ้นไปโปรดชาวสวรรค์เนือง ๆ ได้นำข่าวสารมาบอกยังเมืองมนุษย์ว่า เรื่องนรกสวรรค์มีจริง และขอให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เร่งทำบุญกุศลด้วยการให้ทาน รักษาศีล 5 อยู่เป็นนิจ สมาทานอุโบสถศีล เจริญสมถะและวิปัสสนาอย่าได้ขาด ก็จะได้เกิดทันศาสนาพระศรีอริยเมตไตรยบรมพงษ์โพธิสัตว์เจ้า ซึ่งจะมาตรัสในมนุสสโลกในอนาคตกาลเบื้องหน้า</li> <li class="show">กฎแห่งกรรม เป็นการกระทำที่ประกอบไปด้วยเจตนาถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น กรรมจึงเป็นคำกลาง ๆ มองในแง่ลักษณะว่าดีหรือชั่วก็ได้ กรรมดีก็มี (กุศลกรรม) กรรมชั่วก็มี (อกุศลกรรม) การทำกรรมมีอยู่ 3 ทาง คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม และทางใจ เรียกว่า มโนกรรม ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญาสอนให้มีเหตุผล โดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ มี 4 ประการ เกี่ยวข้องกับกรรม 4 ประการ คือ 1. กัมมสัทธา เชื่อกรรม, เชื่อกฎแห่งกรรม, เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง 2. วิปากสัทธา เชื่อวิบาก, เชื่อผลของกรรม, เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง 3. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตัว 4. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในการพิจารณาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า กรรมมีอยู่จริงสามารถส่งผลให้มนุษย์และเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เสวยวิบากในลักษณะที่แตกต่างและไม่เหมือนกัน</li> <li class="show">คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในเรื่องพระมาลัยที่กล่าวถึงเหตุปัจจัยให้มนุษย์บางพวกได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก และสวรรค์ เป็นต้น เพราะได้ประพฤติธรรม ทำความดี (กุศลกรรม) และประพฤติอธรรม ทำความชั่ว (อกุศลกรรม) ทั้ง 2 อย่าง เป็นความประพฤติที่แสดงออก 3 ทาง ได้แก่ 1. ทางกาย 2. ทางวาจา 3. ทางใจ และในเรื่องพระมาลัยยังสามารถเชื่อมโยงตามหลักการให้ผลของกรรมโดยใช้หลักกรรม 12 เป็นเหตุจำแนกผลของกรรม จากการวิเคราะห์คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในเรื่องพระมาลัยที่มีความสอดคล้องกัน ได้แก่ 1. หลักโอวาทปาติโมกข์เป็นกรอบแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ คือ การละบาปทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม และการรักษาจิตใจให้ผ่องใส เพื่อไปสู่เป้าหมายของชีวิต ไม่ว่าจะดำรงตนอยู่ในบทบาทหน้าที่ใด หากยึดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจย่อมเกิดความผาสุกทุกเมื่อ 2. หลักเทวธรรม ธรรมอันทำให้บุคคลเป็นเทวดา คือ หิริ ได้แก่ ความละอายแก่ใจ และโอตัปปะ ได้แก่ ความเกรงกลัวต่อบาป ดังนั้น คำสอนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฎในพระมาลัยอย่างชัดเจน เรื่องราวที่มุ่งสื่อถึงกรรม และวิบากกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ</li> </ol> พระวุฒิพงศ์ ฐฃิตสีโล รวีโรจน์ ศรคำภา พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์ . ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 ศึกษาประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1043 <p>งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีการเทศน์มหาชาติ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนในชุมชนท่าสัก ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนในชุมชนท่าสัก ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-interviews) กับกลุ่มประชากรจำนวน 25 คน และทำการวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ โดยสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ประเพณีการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีการแต่งเป็นสำนวนต่าง ๆ ตามยุคสมัย เรื่องราวของมหาชาติชาดกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนิกชน เพราะถือว่าเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร อันเป็นพระชาติสุดท้ายที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีครบ 10 ประการ ก่อนจะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยทานบารมีชั้นสุดยอดที่ยากยิ่ง จึงเรียกว่า มหาชาติ ความนิยมและความสำคัญของเรื่องมหาชาติชาดก ปรากฏให้เห็นได้จากวรรณกรรมที่แต่งขึ้นมากมาย ทั้งต่างสำนวนและต่างยุคสมัยเฉพาะที่เป็นฉบับหลวงก็มีมากมายในลักษณะของรูปแบบคำประพันธ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีมหาชาติฉบับท้องถิ่นต่าง ๆ อีก เช่น ทางภาคเหนือมีมหาชาติภาคพายัพ เขียนเป็นอักษรล้านนา มีหลายฉบับและหลายสำนวน ทางภาคอีสาน มีมหาชาติคำเฉียง ส่วนทางภาคใต้ มีมหาชาติชาดกฉบับวัดมัชฌิมาวาส สงขลา เป็นต้น รวมถึงยังมีมหาชาติสำนวนต่าง ๆ ที่มีการแต่งอยู่ทั่วไปในแต่ละพื้นที่ 2. หลักธรรมที่ปรากฏในประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนในชุมท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบไปด้วย 1) หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ การให้ทาน การรักษาศีล และหลักภาวนา 2) หลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา 3) หลักศรัทธา คือ หลักความเชื่อที่ประกอบไปด้วยเหตุผล ไม่ตั้งอยู่ในความงมงาย 4) หลักความกตัญญูกตเวที คือ การรู้จักตอบแทนพระคุณผู้ที่มีอุปการคุณทั้งในยามมีชีวิตและเสียชีวิตแล้ว 5) หลักทิศ 6 คือ หลักในการปฏิบัติตัวอยู่ร่วมกับบุคคลรอบ ๆ ตัวเราทั้งบิดามารดา ครูอาจารย์ สามีภรรยา มิตรสหาย ลูกน้องบริวาร และพระสงฆ์ 6) หลักสัปปุริสธรรม คือ หลักธรรมสำหรับสัตตบุรุษที่จะต้องรู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน และรู้บุคคล และ 7) หลักสาราณียธรรม หรือหลักในการสร้างความสามัคคีให้แก่ชุมชน 3. คุณค่าของประเพณีการเทศน์มหาชาติของประชาชนในชุมชนท่าสัก ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์มี 5 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านหลักคำสอน คือ คติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในประเพณีการเทศน์มหาชาติทำให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนในชุมชนได้อย่างสงบสุข 2) คุณค่าต่อครอบครัว ประเพณีเทศน์มหาชาติถือเป็นโอกาสที่ครอบครัวจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน พบปะกัน เป็นการสร้างความอบอุ่นภายในครอบครัวและอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร 3) คุณค่าด้านเศรษฐกิจ คือ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเกษตรภายในชุมชน 4) คุณค่าต่อสังคม คือ ทำให้ประชาชนรู้จักการเสียสละ ช่วยเหลือแบ่งปัน และ 5) คุณค่าด้านขนบธรรมประเพณี คือ เป็นประเพณีที่มีรากฐานมาจากคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ช่วยปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชนในชุมชน เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมปัจจุบัน</li> </ol> พระอธิการอนุกูล พุทฺธสโร พระราชเขมากร . เกรียงศักดิ์ ฟองคำ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1044 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) เพื่อวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) และเก็บรวมรวมข้องมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 21 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประเพณีที่แสดงถึง “วัฒนธรรม” มาเนิ่นนานนับเนื่องกว่าสองร้อยปี จัดมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อเป็นการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองคนในชุมชนให้อยู่ดีเป็นสุขจัดขึ้นบริเวณที่โล่งกลางหมู่บ้าน หรือที่อันสมควร เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญใหญ่ในหมู่บ้าน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่าง ๆ ได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ อาหารการกิน เป็นต้น เพื่อปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง ๆ ของคนในชุมชนเพื่อเป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษของเรา และเป็นการทำพิธีเพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีในชุมชนให้ออกไป เพื่อจะได้เป็นขวัญกำลังใจของคนในชุมชน มีวาระจัดกันแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาแห่งปี โดยมีนัย “ผูกโยง” สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกจากวิถีชีวิตคนชนบท</p> <p>2) ผลการวิเคราะห์ประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าว ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ (1) ด้านความเชื่อ พบว่า การทำบุญประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าวเป็นผลมาจากความเชื่อ 4 อย่าง คือความเชื่อว่าเป็นการทำบุญส่งเคราะห์ ความเชื่อว่าเป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวบ้าน ความเชื่อว่าเป็นการทำบุญอุทิศ และความเชื่อว่าเป็นการทำบุญขอบคุณแม่โพสพ และเป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา จึงถือเป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความนับถือศรัทธา (2) ด้านหลักธรรม ในประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าวมีหลักธรรมที่ปรากฏที่เห็นได้เด่นชัดอยู่ในประเพณีคือ กตัญญูกตเวที กรรม ศรัทธา บุญกิริยาวัตถุ 3 กัลยาณมิตรธรรม หลักธรรมทั้งหมดนี้ผสมกลมกลืนอยู่กับประเพณีบุญบ้าน-บุญขวัญข้าวและวิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลคุ้งตะเภามาโดยตลอด (3) ด้านอิทธิพลและคุณค่า อิทธิพลในด้านต่าง ๆ คือ ด้านครอบครัว วิถีชีวิต สังคม และพระพุทธศาสนา อันเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงในการสร้างความรักความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ของพุทธศาสนิกชนให้รวมเป็นหนึ่งเดียว การสอนให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่มีการแบ่งปันกันในสังคมนั้น โดยเริ่มจากครอบครัวที่เป็นสุข ทำให้เกิดวิถีชีวิตของคนในสังคมที่ดีงาม โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นฐานในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ประเพณีบุญบ้านบุญขวัญข้าวเป็นประเพณีที่ดีงามจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ควรสืบสานและอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบต่อไป</p> พระทวีศักดิ์ สุเมโธ พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์ . พระศักดิธัช สํวโร ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 กระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคคาราม ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1045 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเข้าอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคารามตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคคารามตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยจำนวน 18 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">การอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนา คือ การประพฤติวุฏฐานวิธี หมายถึง ระเบียบปฏิบัติสำหรับพระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้ง 13 ข้อ แล้วปกปิดไว้ ทั้งที่เกิดโดยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ และอาจรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม จึงต้องประพฤติวุฏฐานวิธี เพื่อเป็นการลงโทษตัวเองให้ครบเท่ากับจำนวนที่ปกปิดอาบัติไว้ โดยพระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วเข้าไปหาตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ตนติดอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งกระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามพุทธศาสนา มี 4 ประเภท คือ 1) อัปปฏิจฉันนปริวาส 2) ปฏิจฉันนปริวาส 3) สโมธานปริวาส 4) สุทธันตปริวาส</li> <li class="show">กระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกิจกรรมทำความดีตามความเชื่อศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวไทยอีสาน เป็นงานบุญประเพณีหนึ่งในประเพณีฮีตสิบสอง หรือนิยมเรียกว่าบุญเข้ากรรม นิยมจัดงานในเดือนอ้าย เดือนเจียงของทุกปี เพื่อให้พระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสได้ปฏิบัติวุฏฐานวิธี ซึ่งเป็นระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัติ พระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติมานัต 6 คืน ให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติหมวดสังฆาทิเสสที่จะเข้าอยู่ปริวาสกรรมได้ชำระความมัวหมองของศีลให้แก่ตนเอง โดยต้องไปขอปริวาสจากสงฆ์ สงฆ์อนุญาตแล้ว เมื่อได้ประพฤติมานัตครบ 6 คืนแล้วจะขออัพภานจากสงฆ์อีก เมื่อสงฆ์ให้อัพภานแล้วภิกษุรูปนั้นจึงจะได้ชื่อว่า “เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์”</li> <li class="show">ผลการวิเคราะห์กระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมรรคาราม ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จากการศึกษากระบวนการพบว่า (1) ด้านรูปแบบการจัดปริวาสกรรม เป็นแบบประเพณี ฮีต สิบสอง ของชาวอีสาน มีคฤหัสถ์มารักษาศีล ปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยคฤหัสถ์เหล่านี้มุ่งหวังอบรมตน (2) ด้านสถานที่วัดป่าวิสุทธิมัคคาราม เป็นพื้นที่ป่าโปรง มีอาคารสถานที่เหมาะสมกับการจัดปริวาสกรรม เงียบสงบไม่ค่อยมีคนพลุกพล่าน ตามหลักสัปปายะ 4 (3) ด้านบุคคลพระกรรมวาจารารย์ ต้องเป็นผู้ไม่ทุศีล ไม่ต้องอาบัติหนัก อาบัติรอง ต้องสวดให้ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ขาดตกบกพร่อง (4) ด้านพระสงฆ์ผู้เข้าปริวาสกรรม ต้องเป็นผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง 13 ข้อ ต้องอยู่ปริวาสกรรม ดังนี้ อาบัติ คือ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดพุทธบัญญัติ และเมื่อภิกษุมีความสอดคล้องกันตามพระวินัยที่พระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสจะต้องอยู่กรรมตามจำนวนวันที่ปกปิดไว้จึงจะออกจากอาบัติได้ (5) ด้านขั้นตอนการอยู่ปริวาสกรรม มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ให้ภิกษุที่รู้ตัวว่าตนเองต้องอาบัติขอเข้าอยู่ปริวาสกรรมจากฆ์แล้วประพฤติวัตรต่าง ๆ เป็นการทำโทษตนเองเท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดความผิดนั้น ๆ ไว้ ขั้นที่ 2 ขอมานัติจากสงฆ์ แล้วประพฤติมานัต 6 คืน ขั้นที่ 3 เมื่อประพฤติมานัติครบ 6 คืน แล้วขออัพภานจากสงฆ์ เมื่อสงฆ์ให้อัพภานแล้วถือว่าได้กลับเป็นภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ ดังนั้น กระบวนการอยู่ปริวาสกรรมตามประเพณีของพระภิกษุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาวัดป่าวิสุทธิมัคคาราม ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีความสอดคล้องกับหลักพระวินัยในพุทธศาสนา</li> </ol> แม่ชีธัญชนก ปราบพาล พระศักดิธัช สํวโร เกรียงศักดิ์ ฟองคำ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 กับวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1046 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (2) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในพระพุทธศาสนา (3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 กับวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับประเด็นการวิจัย จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">วิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ มีการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.03) โดยเรียงจากด้านที่มากไปหาด้านที่น้อย ได้แก่ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ ด้านวิมังสา และด้านฉันทะ</li> <li class="show">หลักอิทธิบาท 4 กับวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ได้แก่ (1) ด้านฉันทะ มีความรักในอาชีพของตนเอง รู้จักการวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสามารถทำงานให้เป็นระบบระเบียบ ทำให้งานสำเร็จลุล่วงตามแผนที่ตั้งไว้ (2) ด้านวิริยะ มีความเพียรพยายามอดทนเป็นที่ตั้ง มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง ทำงานให้เต็มความสามารถ และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ (3) ด้านจิตตะ รู้จักหมั่นพิจารณาไตร่ตรอง มีสมาธิกับการทำงานอยู่ตลอดเวลา สนใจในการพัฒนาตนเอง เพื่อประเมินผลงานของตนเอง ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดแล้วนำมาแก้ไข และนำมาปรับปรุงพัฒนา (4) ด้านวิมังสา การพิจารณาพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบการดำเนินงาน ศึกษาจากปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นต่อไป</li> <li class="show">การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 กับ พบว่า (1) ด้านฉันทะ ทำงานด้วยความรักที่มีต่ออาชีพของตนเอง การทำงานมีความสุขที่ได้ทำงานที่ตนเองชอบด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้กับการทำงาน ส่งผลให้งานออกมามีคุณค่าและน่าภาคภูมิใจ (2) ด้านวิริยะ ตั้งใจทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียรมีความกระตือรือร้นในการทำงาน ไม่มีความเบื่อหน่ายต่อปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการทำงานนั้น ๆ สร้างวินัยให้กับตนเอง พร้อมกับทุ่มเทกำลังกายอดทนต่อทำงาน และอดทนรอคอยผลสำเร็จที่เกิดจากความตั้งใจทำงาน (3) ด้านจิตตะ ทำงานด้วยความมุ่งมั่น ใส่ใจในรายละเอียดขั้นตอนของการทำงาน รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานด้วยความเรียบร้อย ตรงต่อเวลา รักษาระดับมาตรฐานของผลงาน (4) วิมังสา สำรวจตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน พัฒนาจุดแข็งและปรับปรุงจุดอ่อนให้ดีขี้น มีความคิดสร้างสรรค์ และความคิดใหม่ ๆ ในการทำงานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดีขึ้น ดังนั้น การทำงานด้วยความซื่อสัตย์เป็นจรรยาบรรณพื้นฐานในการทำงานของทุกอาชีพ ทำงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประสบกับความสำเร็จ มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น ยกระดับคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐาน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนไม้ปาร์เก้ ทำให้เศรษฐกิจภายในชุมชนดีขึ้น</li> </ol> ปัทญภัจช พรมเสนา พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์ . เกรียงศักดิ์ ฟองคำ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 วิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1047 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูป 2) เพื่อศึกษาประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาภาคเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 12 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) การสร้างพระพุทธรูปไม้ ไม่ปรากฏชัดว่ามีการสร้างพระพุทธรูปในสมัยพุทธกาล แต่มีการกล่าวอ้างถึงตำนานการสร้างพระพุทธรูป คือตำนานพระแก่นจันทน์ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มีการสร้างพระพุทธรูปครั้งแรกเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ามิลินทร์เป็นต้นมา มีแนวคิดพื้นฐานมากจากเรื่องพุทธลักษณะ 32 ประการและอนุพยัญชนะ 80 ของพระพุทธเจ้า</p> <p>2) ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ ไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมาแต่สมัยใด แต่พบว่า มีพระพุทธรูปไม้จำนวนมากทั่วจังหวัดแพร่ ที่พบมากที่สุดอยู่ที่อำเภอลอง อำเภอสูงเม่น และมีการสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเก็บอนุรักษ์ ช่วงหลังประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้เริ่มหายไป ไม่เป็นที่นิยมมากนัก จะมีแต่เฉพาะปราชญ์ภูมิปัญญาที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้ในพื้นที่ที่ยังมีข้อมูลและมีการสืบทอดการสร้างพระพุทธรูปไม้อยู่ ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้มี 2 ลักษณะ คือ (1) ประเพณีสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่มีพิธีกรรมครบสมบูรณ์ตามตำราโบราณล้านนา และ (2) ประเพณีสร้างพระพุทธรูปไม้องค์เล็กถวายเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองในการสืบชะตาต่ออายุ</p> <p>3) จากการศึกษาวิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่ พบว่า ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้สะท้อนคติธรรมทางพระพุทธศาสนา 2 ลักษณะ ได้แก่ (1)หลักศรัทธา หลักการบูชา หลักบุญกิริยาวัตถุ และ (2) คติธรรมแฝงในพิธีกรรม คือ หลักสามัคคี และหลักสัมมาอาชีวะ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมประเพณีการสร้างพระพุทธรูปไม้ในจังหวัดแพร่เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาและอายุพระพุทธศาสนาสืบต่อไป</p> ธีรพันธ์ บุญมาก พระศักดิธัช สํวโร พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการประกอบกิจการขายประกันชีวิตใน จังหวัดแพร่ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1048 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีในการประกอบกิจการขายประกันชีวิตในจังหวัดแพร่ (2) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุ 4 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการประกอบกิจการขายประกันชีวิตในจังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ขายประกัน จำนวน 237 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เอาประกัน จำนวน 50 คน โดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับประเด็นการวิจัย จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ผู้ขายประกันชีวิตมีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการประกอบกิจการขายประกันชีวิตในจังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.96) โดยเรียงจากด้านที่มากไปหาด้านที่น้อย ได้แก่ ด้านปิยวาจา ด้านสมานัตตตา ด้านอัตถจริยา และด้านทาน ตามลำดับ</li> <li class="show">หลักสังคหวัตถุ 4 ในการประกอบกิจการขายประกันชีวิตในจังหวัดแพร่ ได้แก่ <br> (1) ด้านทาน มีความจริงใจใรการให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับกรมธรรม์ การให้คำปรึกษาแก่ผู้เอาประกันด้วยความเต็มใจ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันเป็นหลัก (2) ด้านปิยวาจา มีศิลปะในการพูด ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร หรือให้ข้อมูลต้องเข้าใจง่าย สร้างความไว้วางใจด้วยการเป็นนักฟังที่ดี (3) ด้านอัตถจริยา การพัฒนาบุคลิกภาพสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน การให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้เอาประกันรู้สึกสบายใจ (4) ด้านสมานัตตตา การดูเอาใจใส่ผู้เอาประกันหลังการขาย มีความรับผิดชอบ คอยให้คำปรึกษาผู้เอาประกันได้ตลอดเวลา ให้ความเชื่อใจว่าผู้เอาประกันชีวิตจะรับการบริการที่ดีจากผู้ขายประกันชีวิต</li> <li class="show">การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการประกอบกิจการขายประกันชีวิตในจังหวัดแพร่ ได้แก่ (1) ด้านทาน การให้ข้อมูลที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการซื้อประกันชีวิต ตรงต่อความต้องการของผู้เอาประกัน มีไหวพริบในการตอบข้อคำถามให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำประกันชีวิตได้ดี (2) ด้านปิยวาจา มีความซื่อสัตย์ มีความจริงใจในการให้บริการ ตรงไปตรงมาในการให้ข้อมูลที่ไม่เกินความจริงเกี่ยวกับการทำประกันชีวิต เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต (3) ด้านอัตถจริยา ผู้ขายประกันชีวิตต้องมีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อผู้เอาประกันชีวิต มีความขยันอดทนในการทำงาน พัฒนาตนเองให้มีความชำนาญในทักษะการขายประกัน (4) ด้านสมานัตตตา รักษามาตรฐานของการให้บริการเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกัน พูดคุยทำเข้าใจเห็นใจเพื่อให้ทราบความต้องการของผู้เอาประกัน ดูแลเอาใจใส่ให้คำปรึกษาตลอดเวลา และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ขายประกันชีวิตด้วยกัน</li> </ol> <p>&nbsp;</p> ไพศาล ชัยธีราศักดิ์ พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์ . เกรียงศักดิ์ ฟองคำ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การสร้างสรรค์พลังเรียนรู้ต่อการออกแบบกิจกรรมเสริมพลังเยาวชนยุค 4.0 https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1049 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังเรียนรู้ของเยาวชนยุค 4.0 และ 2) เพื่อออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างพลังแห่งการเรียนรู้ของเยาวชนยุค 4.0. การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research). ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา เป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง<strong>.</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า การเสริมสร้างพลังเรียนรู้ของเยาวชนยุค 4.0 มีการจัดการศึกษาแบบบูรณาการตามเนื้อหาสาระรายวิชาในหลักสูตร, การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทำให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้, ตีความ, เขียนอธิบาย และคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง. การพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะด้านสารสนเทศ, สื่อ และเทคโนโลยี, ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน โดยเป็นสิ่งที่ต้องถูกปลูกฝังและบ่มเพาะจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้ผู้เรียนมีทักษะที่จะนำมาใช้ในการเรียนรู้, การแก้ปัญหา, การทำงาน และการดำรงชีวิตในอนาคต. การสร้างให้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก สอดรับกับการพัฒนาการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ (2559) คือ กิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ และสร้างนวัตกรรมใหม่. ส่วนการออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างพลังแห่งการเรียนรู้ของเยาวชนยุค 4.0 เริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนทำสมาธิและเจริญปัญญา. หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการตามแผนกิจกรรม ดังนี้ ช่วงที่ 1 ประกอบด้วย 1) ครูชวนนักเรียนขบคิดพินิจทักษะ, 2) ครูชวนนักเรียนชมและคุยระหว่างเพื่อนกับเพื่อน, 3) ครูชวนนักเรียนให้ใส่ใจและชวนเข้าใจ, 4) ครูชวนนักเรียนให้คิดเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต 5) ครูชวนนักเรียนฟังเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต, 6) ครูชวนนักเรียนคิด, ฟัง, คุย และสรุป. ส่วนช่วงที่ 2 Growth Mindset (GM) &amp; Fixed Mindset (FM) มีขั้นตอน ดังนี้ 1) การประเมินตนเองอย่างพิจารณา, 2) การทบทวนความจำ GM &amp; FM, 3) การจำแนก Mindset, 4) การปรับ FM ให้เป็น GM, 5) การบันทึกความพยายาม และ 6) การสร้าง Growth Mindset.&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> วรวิทย์ นิเทศศิลป์ พระวิทวัส ปภสฺสรญาโณ ณัฐพรหมเสน ลึกสิงห์แก้ว วชิรา เครือคำอ้าย ชวลิต ขอดศิริ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1050 <p>การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษากระบวนการและกิจกรรมการพัฒนาจิตวิญญาณ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษารูปแบบพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อส่งเสริมการสื่อสารการพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธ เพื่อสันติสุขของชุมชน วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้านการสัมภาษณ์เชิงลึกคือผู้มาปฏิบัติธรรม ที่วัดถ้ำเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า&nbsp; 1) กระบวนการและกิจกรรมการพัฒนาจิตวิญญาณของวัดถ้ำเมืองนะนั้นมุ่งเน้นหลักธรรมเรื่อง บุญกริยาวัตถุ 3&nbsp; คือ กิจกรรมการเข้ามาทำบุญถวายทานและการบริจาคปัจจัยเพื่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด การถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรและผู้ที่เข้ามาร่วมปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมวัดธรรม การรักษาศีล 5 หรือศีล 8&nbsp; ส่วนการภาวนานั้นกำหนดให้ผู้ปฏิบัติธรรมสวดมนตร์บทพระมหาจักรพรรดิทั้งวันทั้งคืนร่วมการบริกรรมพระผงจักรพรรดิอันถือได้ว่าเป็นวัตถุในการยึดเหนี่ยวในการทำสมาธิ นอกจากนี้ การเพ่งพระอริยสงฆ์ในระหว่างสวดมนต์นั้นถือว่าเป็นกุศโลบายอีกอย่างหนึ่งในการกำหนดจิตให้มีสมาธิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติสมถกรรมฐานในหลัก อนุสติ 10 ข้อ และการปฏิบัติดังกล่าว เรียกว่า สังฆานุสติ คือ ละลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ในข้อสามแห่งอนุสติ 10 ข้อดังกล่าว</p> <p>2) รูปแบบพัฒนาจิตวิญญาณของชาวพุทธเพื่อสันติสุขของชุมชนวัดถ้ำเมืองนะ พบว่า ในรูปแบบของ การกิน การนอน และการสวดมนต์อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีเป้าหมายที่ชัดเจน และรู้สึกผ่อนคลาย และมีอารมณ์ดีตลอดเวลารวมถึงสามารถกำหนดจิตในการสวดมนต์ และแผ่เมตตาอย่างมีสมาธิ มันเป็นรูปแบบปฏิบัติที่เพิ่มพลังบุญและหนุนนำให้ชีวิตผู้ปฏิบัติเกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการสวดบทพระคาถามหาจักรพรรดิอยู่เสมอ 3) การส่งเสริมการสื่อสารการพัฒนาจิตวิญญาณสามารถแบ่งออกได้ สองรูปแบบ คือ รูปแบบที่ไม่เป็นทางการซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยวิธีพูดปากต่อปากจากบุคคลไกล้ชิดและการสื่อสารแบบเป็นทางการคือการสื่อสารโดยการประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน การสื่อสารทางเดียวที่เป็นทางการ คือ การประชาสัมพันธ์จะเป็นในลักษณะต่าง ๆ เช่นการสื่อโดยแผ่นพับแผ่น ป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารทางระบบออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ</p> อภิชัย กามู ประเสริฐ บุปผาสุข พระมหาทินกร วรญาโร ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาของเยาวชนในหมู่บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1051 <p>การวิจัยเรื่อง “การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาของเยาวชนในหมู่บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน&nbsp; อำเภอสันป่าตอง&nbsp; จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาของเยาวชนหมู่บ้านดงป่างิ้ว&nbsp; ตำบลมะขุนหวาน&nbsp; อำเภอสันป่าตอง &nbsp;จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ทางประเพณีวัฒนธรรมการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาของเยาวชนหมู่บ้านดงป่างิ้ว&nbsp; ตำบลมะขุนหวาน&nbsp; อำเภอสันป่าตอง&nbsp; จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาของเยาวชนหมู่บ้านดงป่างิ้ว&nbsp; ตำบลมะขุนหวาน&nbsp; อำเภอสันป่าตอง&nbsp; จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติ โดย 1) เชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลจาก เอกสารที่เกี่ยวข้องและสนทนากลุ่มศึกษาความเห็นของของผู้ที่เกี่ยวข้อง 2) เชิงปฏิบัติการ โดยศึกษาจากเยาวชนในหมู่บ้านดงป่างิ้วที่เข้าร่วมโครงการ ผลวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาของเยาวชนหมู่บ้านดงป่า โดยการ การปลุกจิตสำนึกให้กับเยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมล้านนา เช่นประเพณียีเป็ง เพือเป็นการรักษาฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชน การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง</li> <li class="show">การสร้างอัตลักษณ์ทางประเพณีวัฒนธรรมของเยาวชนหมู่บ้านดงป่างิ้ว กระบวนการสร้างอัตลักษณ์เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทั้งระหว่างสังคมชุมชนและตัวบุคคล โดยการร่วมกันสร้างอัตลักษณ์ของล้านนา เช่นการสร้างโคมในประเพณียี่เป็ง ซึ่งแฝงไปด้วยเรื่องราวของวิถีชีวิต ความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนา ในวัฒนธรรมชาวล้านนา ซึ่งเป็นมากกว่าสิ่งของที่ถูกคิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้งานในประเพณีวัฒนธรรมเท่านั้น แต่เป็นเรื่องราวของงานหัตถศิลป์ที่เกิดขึ้น ควบคู่กับเรื่องราววิถีชีวิต ความศรัทธา ความเชื่อ จารีตประเพณีของชาวล้านนา ที่สั่งสมส่งต่อยังรุ่นสู่รุ่น เกิดเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีความงดงาม ซึ่งอาจจะแสดงถึงสว่างไสวรุ่งโรจน์ให่กับชีวิตของชาวล้านนาและเพื่อเป็นพุทธบูชา เทพารักษ์ ทำให้บ้านมีแสงสว่าง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป</li> <li class="show">รูปแบบการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมล้านนาของเยาวชนหมู่บ้านดงป่างิ้ว เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเรื่องประเพณีวัฒนธรรมล้านนา คือประเพณียี่เป็งที่เป็นประเพณีที่โดดเด่นของคนล้านนา มีการร่วมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นยี่เป็ง เยาวชนได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนโบราณที่มีชีวิตแบบเรียบง่าย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์การละเล่นแบบพื้นบ้านของท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอันทรงคุณค่ารู้วิธีการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ตามแนวราชดำริของพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 โดยใช้วิถีการดำเนินชีวิตกับประเพณีวัฒนธรรม รู้ถึงคุณค่าของวัฒนธรรม และรู้รักและหวงแหนบ้านเกิดของตนเองมากยิ่งขึ้นสามารถสังเคราะห์รูปแบบได้ 3 ประการหลัก คือ 1) การใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) การสร้างกระบวนการการเรียนรู้ที่วัด และ 3) การจัดการความรู้ ที่โรงเรียน</li> </ol> พระครูปลัดศิวภัช ภทฺรญาโณ (หน่อตุ้ย) พระครูธีรสุตพจน์ พระมหาสง่า ไชยวงค์) สุวิน มักได้ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในพระพุทธศาสนา https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1052 <p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาที่ให้ความสำคัญต่อความเสมอภาคของคนในสังคม ให้ความสำคัญต่อการกระทำมากว่าชาติกำเนิด มุ่งสั่งสอนให้หลุดพ้นโดยมองว่าทุกคนสามารถหลุดพ้นได้</p> <p>ผู้เขียนจึงเสนอศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยชาติกำเนิด ไม่ว่าจะเกิดในชนชั้นใดก็สามารถประพฤติดีได้ 2) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการเข้าถึงธรรม โดยที่ทุกเพศ ทุกชนชั้นสามารถเข้าถึงธรรมได้ และ 3) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการมีความสัมพันธ์ทางสังคม ตามหลักทิศ 6 เพื่อให้ทุกคนเคารพให้เกียรติกัน และรู้หน้าที่ของตน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p> พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร พระมหาจักรพันธ์ สุรเตโช ฟองจันทร์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ประไพศิริ สันติทฤษฎีกร ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 เบญจขันธ์ : พุทธชีวทัศน์เพื่อการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1053 <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “เบญจขันธ์: พุทธชีวทัศน์เพื่อการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์” พบว่า ชีวิตตามหลักเบญจขันธ์ มีการแสดงถึงความเชื่อมโยงของส่วนประกอบทั้ง 5 ได้แก่ รูป (ร่างกาย) เวทนา (อารมณ์รู้สึก) สัญญา (กำหนดหมายรู้) สังขาร (การปรุงแต่งจิต) และวิญญาณ (การรู้ชัดในอารมณ์) เนื่องจากเป็นองค์ประกอบของชีวิตที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ให้สมบูรณ์ขั้นสูงสุด ด้วยการใช้กระบวนการตามศีล สมาธิ และปัญญา โดยต้องคำนึงหลักพื้นฐานด้านพัฒนาการศักยภาพของมนุษย์ที่สังคมปัจจุบันให้ความสำคัญ ประกอบด้วย พัฒนาการทางด้านร่างกาย &nbsp;พัฒนาการทางอารมณ์ พัฒนาการทางสังคม พัฒนาการทางสติปัญญา และพัฒนาการทางศีลธรรมควบคู่กันไป จึงเป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์ในการกำจัดความไม่เข้าใจและไม่รู้จริง (อวิชชา) ในเบญจขันธ์นั้น อันที่เป็นสาเหตุให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างไม่ถูกต้องและมีความเข้าใจต่อชีวิตของผู้อื่นในทางที่ผิดตามไปด้วย ตรงกันข้ามหากมีการพัฒนามนุษย์ให้มีทัศนคติ ความเข้าใจและความคิดเห็นต่อชีวิตของตนที่ถูกต้องแล้ว การมีท่าทีต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ประเภทอื่น ๆ ก็จะถูกต้องเช่นกัน ทุกชีวิตก็จะดำเนินชีวิตบนโลกร่วมอย่างเข้าใจและมีการปฏิบัติต่อกันอย่างถูกต้องและเหมาะสม</p> พระมหาเกียรติศักดิ์ กิตฺติปาโล (จูมพลน้อ) ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 หลักการ แนวคิด ทฤษฎี : เพื่อพัฒนาคู่มือการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองสำหรับบริการการท่องเที่ยวในชุมชน https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1054 <p>การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองสำหรับชุมชนท่องเที่ยวเพื่อเตรียมพร้อมในการทำงานด้านอุตสาหกรรมบริการการท่องเที่ยวชุมชนต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ มุ่งสร้างเนื้อหาที่เป็นอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม สร้างความเข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง อีกทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต มีการกระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน</p> เดชา ตาละนึก พระครูใบฏีกาทิพพนากรณ์ ชยาภินันโท ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 ภาวะผู้นำเชิงพุทธในยุค New Normal https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1055 <p>โควิด-19 ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาล เพราะเป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างรุนแรงในระยะสั้น และหลายพฤติกรรมจะอยู่ถาวรกลายเป็น New Normal ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายองค์กรกำลังศึกษาอยู่ ส่งผลต่อวิถีชีวิต การทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน การเกิดขึ้นและการดำเนินโควิด-19 ครั้งนี้ ทุกภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาครัฐ หรือส่วนบุคคล ล้วนต้องปรับตัว&nbsp;</p> <p>ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วน&nbsp; ผู้นำเป็นผู้ที่สามารถส่งผลกระทบต่อความเป็นไปขององค์กรในทุกๆ ด้าน&nbsp; ไม่ว่าจะเป็นด้านการกำหนดนโยบาย&nbsp; การจัดการ&nbsp; การคิดริเริ่มสร้างสรรค์&nbsp;&nbsp; การวางแผน&nbsp; การบริหารกำกับการและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ&nbsp; ให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายขององค์กร&nbsp; ผู้นำจึงเป็นผู้มีอิทธิพลที่สามารถส่งผลกระทบความเป็นไปขององค์กรในทุกๆ ด้าน&nbsp; ไม่ว่าจะเป็นด้านที่เกี่ยวกับการบริหารและงานบุคคล&nbsp; ดังนั้นในทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องมีผู้นำที่ดี&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>การพัฒนาภาวะผู้นำในปัจจุบันจึงหันมาใช้วิธีการตามแนวพระพุทธศาสนากันมากขึ้น&nbsp;&nbsp; ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาภาวะผู้นำที่เรียกว่า&nbsp; “ผู้นำเชิงพุทธ”&nbsp; ด้วยเหตุว่าผู้นำนั้นเมื่อประกอบการบูรณาการด้วยพระพุทธศาสนาเข้าไปแล้ว&nbsp; ย่อมได้ชื่อว่า&nbsp; มีความเก่ง (วิชชา)&nbsp; และความดี (จรณะ)&nbsp; ตรงตามแบบที่เรียกว่า เป็นทั้งคนเก่งและคนดี (วิชชาจรณะสัมปันโน)&nbsp; ในคนเดียวกัน&nbsp; กล่าวคือ&nbsp; การเป็นผู้นำที่ดีนั้นจะต้องปกครองและบริหารโดยธรรม&nbsp; ยึดธรรมคือความถูกต้องเป็นหลัก&nbsp; เพราะจะสร้างความยุติธรรมและความถูกต้องให้แก่ผู้นำ&nbsp; และผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน&nbsp;&nbsp; อันจะก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน&nbsp; มีประสิทธิภาพ&nbsp; ประสิทธิผล&nbsp; เป็นองค์กรที่มาแห่งความสุข (Happiness&nbsp; Organization)&nbsp; เพราะหลักธรรมมุ่งเน้นให้ผู้นำสามารถประสานความสัมพันธ์กับหมู่คน&nbsp; เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับบุคคลอื่นๆ&nbsp; ตลอดจนถึงสังคมในวงกว้าง</p> อภิรมย์ สีดาคำ ประเสริฐ ปอนถิ่น นพดณ ปัญญาวีรทัต ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 แนวทางการพัฒนาเยาวชนด้านคุณธรรมจริยาธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดเชียงใหม่ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1056 <p>บทความนี้&nbsp; มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเยาวชนด้านคุณธรรมและจริยธรรมในโรงเรียนวิถีพุทธ&nbsp; จังหวัดเชียงใหม่ &nbsp;โรงเรียนวิถีพุทธถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่จะช่วยผลักดันให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนตามศักยภาพด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพราะว่าโรงเรียนวิถีพุทธได้นำหลักธรรมมาประยุกต์กับการจัดระบบการเรียนการสอนในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่กำหนดให้นักเรียนจะต้องเป็นคนดี คนเก่ง มีสุขอย่างแท้จริง ตรงกับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่มีกรอบในการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นแบบฝึกหัดเพื่ออบรมพัฒนากาย ความประพฤติ จิตใจ และปัญญา&nbsp;&nbsp; ด้วยแนวทางการบูรณาการไตรสิกขาเข้าร่วมกับกลุ่มสาระและกิจกรรมต่าง ๆ ในหลักสูตร กล่าวคือในโรงเรียนต้องฝึกอบรมผู้เรียนให้มีวิถีแบบชาวพุทธทั้งใน และนอกสถานศึกษา ผลที่ตามมา ผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เป็นไปพร้อมกัน ได้แก่ การพัฒนาทางกาย (กายภาวนา) การพัฒนาด้านสังคม (ศีลภาวนา) การพัฒนาทางจิตใจ (จิตตภาวนา) และการพัฒนาทางปัญญา (ปัญญาภาวนา) จะเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข</p> พระครูศรีปริยัตยารักษ์ . ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1 หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ https://www.firstojs.com/index.php/JDW/article/view/1057 <p>บทความวิชาการเรื่อง “หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเกี่ยวกับหลักพระพุทธธรรมมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และมุมมองคนพิการที่มีต่อสังคมและตนเอง ตลอดจนได้รับทราบสถิติของคนพิการในประเทศไทย เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของคนพิการ ซึ่งมีแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สังคมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่ร่วมกัน และควรปฏิบัติต่อคนพิการอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน หลักพุทธธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นอย่างมาก ทำให้คนพิการมีสติในการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยขัดเกลาจิตใจให้ประพฤติในสิ่งที่ดี ทั้งทางกายทางวาจาและทางใจและสร้างพลังใจในการดำเนินชีวิต โดยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่นำมาพัฒนาคนพิการครั้งนี้ประกอบด้วย ภาวนา 4 โดยนำมาบูรณาการร่วมกับหลักธรรมที่เกี่ยวข้องคือ สังคหวัตถุ 4 อริยสัจ 4 และ พรหมวิหาร 4 เป็นต้น</p> ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ ##submission.copyrightStatement## 2022-02-11 2022-02-11 3 1